คุณควรมีน้ำหนักตัวเท่าไร
ในช่วง 20 ปีที่ผ่านมา เมื่อสำรวจผลเปรียบเทียบภาวะอาหารและโภชนาการของประเทศไทยจะเห็นว่าประชากรไทยมีน้ำหนักและส่วนสูงเพิ่มมากขึ้น โดยเฉพาะในเขตเมือง จะมีอัตราที่เพิ่มขึ้นมากกว่าต่างจังหวัด
ดังนั้น การจะกำหนดค่ามาตรฐานน้ำหนัก และส่วนสูงของคนไทย จึงจำเป็นต้องพิจารณาปัจจัยต่างๆ และในปัจจุบันได้มีการกำหนดค่าน้ำหนักและส่วนสูงของผู้ใหญ่และผู้สูงอายุกำหนดเป็นค่ามาตรฐาน ดังนี้
ตารางน้ำหนักและส่วนสูงของผู้ใหญ่และผุ้สูงอายุ
เพศ | ช่วงวัย | น้ำหนัก
(กิโลกรัม) |
ส่วนสูง
(เซนติเมตร) |
ผู้ใหญ่ – ชาย |
19 – 30 31 – 50 51 – 70 >71 |
57.3 57.3 57.3 57.3 |
166 166 166 166 |
ผู้ใหญ่ – หญิง |
19 – 30 31 – 50 51 – 70 >71 |
51.9 51.9 51.9 51.9 |
155 155 155 155 |
*** ที่มา : ปริมาณสารอาหารอ้างอิงที่ควรได้รับประจำวันสำหรับคนไทย
ปี พ.ศ. 2546 : กองโภชนาการ กรมอนามัย
ค่าที่ได้นั้นเป็นเพียงตัวเลขเฉลี่ยของน้ำหนักและความสูงของคนไทย หากน้ำหนักตัวมากกว่านี้ แต่สัมพันธ์กับความสูงที่เพิ่มขึ้น ย่อมไม่เป็นปัญหา แต่หากสัดส่วนระหว่างน้ำหนักและส่วนสูงไม่เหมาะสม นั่นก็คือ อ้วนนั่นเอง
ดังนั้น เราจึงต้องมีเครื่องมือช่วยเหลืออีกประการหนึ่ง นั่นคือ ดัชนีมวลกาย หรือ ค่า BMI (Body Mass Index) ซึ่งเป็นดัชนีชี้ความสัมพันธ์ระหว่างน้ำหนักและส่วนสูงของร่างกาย และทำนายอัตราเสี่ยงต่อการเกิดโรคที่เกี่ยวข้องกับความอ้วน โดยวิธีการคำนวณค่า BMI คือ
ดัชนีมวลกาย = น้ำหนักตัว (กิโลกรัม)
ส่วนสูง (ม)2
องค์การอนามัยโลกได้กำหนดค่าของดัชนีมวลกายไว้ดังต่อไปนี้
< 18.5 | ถือว่า | ผอม |
18.5 – 24.9 | ถือว่า | ปกติ |
25 – 29.9 | ถือว่า | น้ำหนักเกิน |
>30 | ถือว่า | อ้วน |
ถึงแม้ว่า ค่า BMI จะเป็นตัวบ่งชี้ได้ว่า คุณมีน้ำหนักตัวอยู่ในเกณฑ์ปกติหรือไม่ แต่การที่จะทำนายว่า คนใดจะมีสุขภาพดีหรือไม่ดีนั้น อาจไม่สามารถใช้เพียงค่า BMI อย่างเดียวได้
เนื่องจากยังมีคนที่ตัวใหญ่เป็นจำนวนมาก หรือแม้กระทั่งคนที่เห็นได้ชัดเจนว่าอ้วนนั้นกลับมีอายุยืน มีความสุขและมีคุณภาพชีวิตที่ดี
ซึ่งนักวิทยาศาสตร์โภชนาการได้พยายามหาสาเหตุว่าทำไมจึงเป็นเช่นนั้น โดยได้ให้ความสำคัญซึ่งไม่ได้เน้นเฉพาะน้ำหนัก/ส่วนสูง (ดัชนี BMI) เพียงอย่างเดียว แต่ยังให้ความสำคัญต่อตัวแปรแทรกซ้อนที่เกิดขึ้นด้วย ซึ่งได้แก่ ออกกำลังน้อย กินอาหารขยะมาก และลักษณะทางพันธุกรรม
Cr. คู่มือโภชนาการเพื่อสุขภาพที่ดีขึ้น