สมดุลน้ำในร่างกาย
ปริมาณน้ำที่สมดุลในร่างกายประมาณ 3 ใน 4 ส่วนของน้ำในร่างกายเป็นของเหลวที่อยู่ภายในเซลล์ของร่างกาย ส่วนที่เหลือเป็นของเหลวที่อยู่ภายนอกเซลล์ ซึ่งได้แก่
- ของเหลวที่อยู่ระหว่างเซลล์
. - พลาสมา (ของเหลวใสที่อยู่ในเลือด)
.
- น้ำเหลือง (ของเหลวสีเหลืองใสที่ได้จากเนื้อเยื่อร่างกาย ซึ่งไหลผ่านไปตามต่อมน้ำเหลืองและในที่สุดจะเข้าสู่เส้นเลือดแดง)
.
- สารคัดหลั่ง เช่น เหงื่อ ของเหลวในช่องคลอด
.
- ปัสสาวะ
ร่างกายที่มีสุขภาพดีจะมีน้ำภายในและนอกเซลล์ในปริมาณที่สมดุล ซึ่งการรักษาสมดุลของน้ำในร่างกายนับได้ว่าเป็นสิ่งที่จำเป็น ถ้าน้ำภายในเซลล์มีปริมาณน้อยเกินไป อาจทำให้เซลล์แห้งเหี่ยวและตายได้ แต่ถ้าเซลล์มีน้ำมากเกินไป เซลล์ก็จะบวมพองและแตกได้
การรักษาสมดุลของน้ำในร่างกาย
จะรักษาสมดุลของน้ำได้โดยการทำงานของสารที่เรียกว่า “อิเล็คโตรไลท์” ซึ่งเป็นสารประกอบเกลือแร่ที่สามารถแตกตัวเป็นประจุไอออนได้แร่ธาตุหลายชนิด เช่น แคลเซียม ฟอสฟอรัส และแมกนีเซียม จะเกิดเป็นสารประกอบที่แตกตัวเป็นประจุไฟฟ้า
โดยทั่วไปนักโภชนาการจะใช้คำว่าอิเล็คโตรไลท์ เพื่ออธิบายถึงคำว่าโซเดียม โปเเตสเซียม และคลอรีน ซึ่งอิเล็คโตรไลท์ที่คุ้นเคยกันมากที่สุดชนิดหนึ่งก็คือ โซเดียมคลอไรด์ หรือเกลือนั่นเอง (โมเลกุลของโซเดียมคลอไรด์จะแตกตัวออกเป็นไอออน 2 ชนิด คือ โซเดียมไอออน และคลอไรด์ไอออน)
กระบวนการที่โซเดียมไหลออก และโปตัสเซียมไหลเข้า เพื่อให้สิ่งต่างๆ เกิดความสมดุลนี้เรียกว่า “โซเดียมปั๊ม” ถ้ากระบวนการนี้หยุดลง โซเดียมไอออนจะสะสมอยู่ภายในเซลล์
และเนื่องจากโซเดียมมีคุณสมบัติในการดูดน้ำ ดังนั้นถ้ามีโซเดียมอยู่ภายในเซลล์มาก น้ำก็จะถูกดูด เข้าเซลล์มาก และอาจทำให้เซลล์แตกและตายได้โซเดียมปั้มจึงทำหน้าที่เหมือนนาฬิกา คอยป้องกันความไม่สมดุลจากการเกิดเหตุการณ์ในลักษณะนี้ซึ่งทําให้ร่างกายดำรงชีวิตอยู่ได้อย่างปกติสุข
บทบาทอื่นของอิเล็คโตรไลท์
นอกเหนือจากการรักษาสมดุลของน้ำในร่างกายแล้ว ไอออนของโซเดียม โปตัสเซียม และคลอไรด์ (รูปแบบของคลอรีนในอาหาร) จะสร้างแรงกระตุ้นไฟฟ้าซึ่งทำให้เซลล์สามารถส่งข่าวสารกลับไปกลับมาระหว่างเซลล์ ด้วยเหตุนี้เอง ร่างกายจึงสามารถทำงาน คิด มองเห็น เคลื่อนไหว และทำหน้าที่อื่นๆ ทั้งหมดได้
โซเดียม โปแตสเซียม และคลอไรด์ เป็นธาตุหลักเเละเป็นสารอาหารที่จำเป็นต่อร่างกาย ซึ่งเป็น ประโยชน์สำหรับกระบวนการต่างๆ ภายในร่างกาย กล่าวคือ
- โซเดียมช่วยย่อยโปรตีนและคาร์โบไฮเดรต ทำให้เลือดมีความเป็นกรดหรือด่างไม่มากเกินไป
.
- โปตัสเซียมใช้ในกระบวนการย่อยอาหารเพื่อสังเคราะห์โปรตีนและแปัง และเป็นองค์ประกอบสำคัญของเนื้อเยื่อกล้ามเนื้อ
.
- คลอไรด์เป็นองค์ประกอบของกรดไฮโดรคลอริก ซึ่งทำหน้าที่ย่อยอาหารในกระเพาะอาหาร
นอกจากนี้เซลล์เม็ดเลือดขาวยังใช้คลอไรต์ในการสร้างไฮโปรคลอไรท์ ซึ่งเป็นสารฆ่าเชื้อโรคตามธรรมชาติ
Cr. คู่มือโภชนาการเพื่อสุขภาพที่ดีขึ้น