วิตามินซี
วิตามิน C วิตามิน B ทุกชนิด ไบโอติน และโคลีนจะถูกจัดอยู่ในกลุ่นเดียวกัน เนื่องจากเป็นวิตามินที่ละลายในน้ำ
แหล่งอาหาร
ผักสด ผลไม้สด (โดยเฉพาะผลไม้จำพวกส้ม สตรอเบอรี่ ผลกีวี ฝรั่ง พริก และมันฝรั่ง)
หน้าที่
สร้างคอลลาเจน (โปรตีนที่จำเป็นสำหรับความแข็งแรงของเหงือก ฟัน กระดูก และผิวหนัง )และสารสื่อประสาท เช่น นอร์อะดรีนาลีนและซีโรโทนิน เป็นสารต้านออกซิเดชั่นในร่างกาย และช่วยดูดซึม ธาตุเหล็กจากพืชในอาหาร
ปริมาณที่ควรได้รับต่อวัน
60 มิลลิกรัม
อาการเมื่อขาด
อ่อนเพลีย เบื่ออาหาร ปวดข้อ เจ็บเหงือก ผิวหนังแห้ง เป็นเกร็ด เป็นแผลหายช้า ติดเชื้อได้ง่าย ถ้าขาดมากอาจทำให้มีความผิดปกติทางจิต มีอาการตกเลือดภายในซึ่งจะทำให้เป็นโรคโลหิตจาง
อาการเมื่อเกิน
ปกติร่างกายจะขับวิตามินซีที่เกินความต้องการออกทางปัสสาวะ แต่ถ้าได้รับเสริมในรูปยามากๆ อาจทำให้เป็นนิ่ว ปวดศีรษะและนอนไม่หลับ หญิงมีครรภ์ไม่ควรได้รับวิตามินซีเสริมในปริมาณมาก
รายชื่อผักที่มีวิตามินซีสูง
ลำดับ | ชนิด | วิตามินซี(MG) |
1. | ขี้เหล็ก (ดอก) | 484 |
2. | ดอกผักฮ้วน | 472 |
3. | ยอดผักฮ้วน | 351 |
4. | มะรุม(ฝัก) | 262 |
5. | พริกหวาน (พริกยักษ์) | 218 |
6. | พริกชี้ฟ้า (เขียว) | 204 |
7. | สะเดา (ยอด) | 194 |
8. | ใบเหรียง | 192 |
9. | มะระขี้นก | 190 |
10. | พริกหนุ่ม | 188 |
11. | บล็อคโคลี่ | 183 |
12. | ฟักข้าว | 178 |
13. | พริกชี้ฟ้า (แดง) | 168 |
14. | ผักหวาน | 168 |
15. | ผักเชียงดา | 153 |
16. | ผักคะน้า | 147 |
17. | ใบย่านาง | 141 |
18. | ผักกระโดน | 126 |
19. | ผักขี้หูด | 125 |
20. | ผักกาดเขียว | 118 |
21. | สมอไทย | 116 |
22. | ผักแพว | 115 |
23. | มะระ (ยอดอ่อน) | 110 |
24. | พริกเหลือง | 106 |
ที่มา ตารางแสดงคุณค่าทางโภชนาการของอาหารไทย กองโภชนาการ กระทรวงสาธารณสุข รวบรวมโดยงานส่วนสมุนไพร ฝ่ายพัฒนาและส่งเสริมระบบบริการสถาบันการแพทย์แผนไทย กรมการแพทย์
Cr: มหันตภัยจากการบริโภคของมนุษย์