รวมความรู้ด้านสุขภาพ Health Knowledgeสารอาหารบำบัดโรค Nutrition

วิตามิน: รากฐานของสุขภาพ

ร่างกายของคนเราไม่สามารถที่จะสร้างวิตามินส่วนใหญ่ได้เอง จึงจำเป็นต้องได้รับจากการทานอาหาร

วิตามิน แต่ละชนิดมีหน้าที่เฉพาะหลายอย่างในร่างกาย หากขาดวิตามินจะทำให้เจ็บป่วยร้ายแรงได้ สิ่งมีชีวิตทุกชนิดไม่ว่าจะเป็นพืชหรือสัตว์ ก็ต้องการวิตามินเพื่อการเจริญเติบโตและดำรงชีวิตด้วยกันทั้งนั้น แต่พืชสีเขียวเท่านั้นที่สามารถสร้างวิตามินเองได้ตามความต้องการ

 

ร่างกายของคนเรานั้นสามารถสร้างวิตามินได้เพียง 2 ชนิด คือ วิตามินดีที่สังเคราะห์ได้จากแสงแดด และไนอาซีนที่สังเคราะห์ได้จากกรดอะมิโน ที่มีชื่อว่า ทริปโทแฟน นอกนั้นต้องได้รับจากอาหารที่กินเข้าไปเท่านั้น

วิตามินสามารถแบ่งได้ 2 ชนิด คือ วิตามินชนิดที่ละลายในน้ำมัน และวิตามินชนิดที่ละลายในน้ำ

วิตามินที่สามารถละลายในน้ำมันได้แก่ วิตามินเอ วิตามินดี วิตามินอี และวิตามินเค สามารถสะสมอยู่ในร่างกายได้ หากได้รับมากเกินไป อาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพ

ส่วนวิตามินที่ละลายในน้ำ ได้แก่ กลุ่มวิตามินบี และวิตามินซี แม้ได้รับมากเกินไปก็ไม่เป็นอันตรายต่อร่างกาย เนื่องจากร่างกายสามารถขับออกได้เอง จึงไม่สะสมอยู่ในร่างกาย (ยกเว้นวิตามิน บี 12)

วิตามิน 13 ชนิดที่จำเป็น

วิตามินเอ (เบตาแคโรทีน ในอาหารจากพืช)


วิตามินบี 1 (ไธอามิน)


วิตามินบี 2 (ไรโบเฟลวิน)


วิตามินบี 5 (กรดแพนโทธีนิก)


วิตามินบี 6 (ไพริด็อกซิน)


วิตามินบี 9 โฟเลต(กรดโฟลิก)


วิตามินบี 12 (ไซยาโนโคบาลามิน)


วิตามินซี (กรดแอสคอร์บิก)


วิตามินดี (แคลซิเฟอรอล)


วิตามินอี (โทโคฟีรอล)


วิตามินเอช (ไบโอติน)


วิตามินเค (ฟิลโลควิโนนเมนาควิโนน)


ไนอาซิน(กรดนิโคตินิก)

Cr: มหันตภัยจากการบริโภคของมนุษย์