รวมความรู้ด้านสุขภาพ Health Knowledgeเรื่องเล่าสะกิดสุขภาพ Health Story

ภาคไหน แชมป์ “กินเค็ม”

ภาคไหน แชมป์ "กินเค็ม"

คนไทยกว่า 8 ล้านคน ป่วยเป็นโรคไตเรื้อรัง และคาดว่าจะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ

สาเหตุหลักมาจากร่างกายได้รับโซเดียมเกิน

ร่างกายต้องการโซเดียมเพื่อใช้ในการรักษาสมดุลของเหลวภายในร่างกาย วันละ 2,000 มิลลิกรัม หรือ 1 ช้อนชา หรือ คิดเป็นเกลือป่น ประมาณ 6 กรัม

ในขณะที่คนไทยบริโภคโซเดียม ประมาณ 4,000 มิลลิกรัม หรือมากกว่าความต้องการของร่างกาย 2 เท่า

แกงไตปลา

โดยปริมาณการบริโภคโซเดียมเฉลี่ยในแต่ละภาค ดังนี้

 อันดับ 1 ภาคใต้ 4,108 มก./วัน

 อันดับ 2 ภาคกลาง 3,760 มก./วัน

 อันดับ 3 ภาคเหนือ 3,563 มก./วัน

 อันดับ 4 กทม. 3,496 มก./วัน

 อันดับ 5 ภาคอีสาน 3,316 มก./วัน

ขนมจีนน้ำเงี้ยว

คนไทยมีนิสัยติดกินเค็มโดยไม่รู้ตัว ดังนี้

1.ปรุงก่อนชิม บนโต๊ะอาหารเกือบทุกโต๊ะ มักมีเครื่องปรุงวางไว้เช่น พริกน้ำปลา น้ำส้มสายชู น้ำตาล น้ำปลา

2.น้ำจิ้มต้องมี อาหารบางอย่างมีโซเดียมอยู่แล้ว เมื่อจิ้มน้ำจิ้มเป็นการเพิ่มโซเดียมเข้าไปอีก

3.ซดน้ำซุป น้ำยำ ในน้ำซุป และน้ำยำเต็มไปด้วย เครื่องปรุงรสต่างๆ ซึ่งถือว่ามีโซเดียมปริมาณสูงมาก

4.กินอาหารแปรรูป เพื่อต้องการความรวดเร็วและประหยัดเวลา หลายคนมักเลือกทานอาหารแปรรูป เช่น ไส้กรอก ลูกชิ้น หมูยอ

ข้อเสียต่อร่างกายเมื่อได้รับโซเดียมสูง ?

1.เกิดการคั่งของเกลือ และน้ำในอวัยวะต่างๆ สำหรับผู้ที่มีสุขภาพดี ร่างกายขับน้ำ และเกลือส่วนเกินได้ทัน แต่สำหรับผู้ป่วยไต เมื่อร่างกายขับน้ำและเกลือออกไม่ได้ จะเกิดภาวะคั่งของน้ำและเกลือในอวัยวะต่าง ๆ เช่น เท้าบวม แขนบวม ขาบวม หน้าบวม เหนื่อยง่าย แน่นหน้าอก นอนราบไม่ได้ น้ำท่วมปอด ผู้ป่วยโรคหัวใจอาจเกิดภาวะหัวใจวายได้ง่าย

2.ความดันโลหิตสูง การทานโซเดียมมากเกิน ทำให้เกิดความดันโลหิตสูง ส่งผลเสียต่อหลอดเลือดหัวใจ สมอง ทำให้เกิดหัวใจตีบ หลอดเลือดสมองตีบ แตก อัมพฤกษ์ อัมพาต

3.ส่งผลเสียต่อไต ทำให้ไตทำงานหนัก เกิดความดัน ในหน่วยไตสูงขึ้น และเกิดภาวะรั่วของโปรตีนในปัสสาวะ

แนวทางป้องกัน

  • งดทานอาหารที่มีรสหวาน มัน เค็ม เลี่ยงการเติมเครื่องปรุงรสต่างๆ ลงในอาหาร
  • งดสูบบุหรี่ และดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
  • ดื่มน้ำอย่างน้อย วันละ 8 แก้ว
  • ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอและพักผ่อนให้เพียงพอ
  • ไม่ควรกลั้นปัสสาวะเป็นเวลานาน
  • ตรวจสุภาพประจำปี