รวมความรู้ด้านสุขภาพ Health Knowledgeเรื่องเล่าสะกิดสุขภาพ Health Story

กินยาพร่ำเพรื่อจะไม่เหลือไต เผย 98 % ยากระทบไตและเป็นพิษ

ยาเคมีที่ใช้กันอย่างพร่ำเพรื่อ เป็นสาเหตุของปัญหาไตวาย

เป็นเวลาเกือบ 100 ปี ที่การแพทย์แผนตะวันตก ได้ลงหลักปักฐานในประเทศไทย

การใช้ยาเคมี ได้ให้คุณูปการทางการเเพทย์ในการรักษาโรคติดเชื้อ รวมทั้งโรคและอาการเฉียบพลันต่าง ๆ ที่คุกคามชีวิต

ขณะที่การแพทย์พื้นถิ่นของไทย ค่อย ๆ หมดบทบาทลง ผลก็คือ คนไทยเกิดความโน้มเอียงที่มองว่า…

ยาคือคำตอบประการเดียวของชีวิต

ยาเข้ามามีบทบาทต่อชาติคนไทย ไม่เพียงรักษาอาการอักเสบ ยาลดไข้ เเก้ปวด ถ่ายไม่ออก ท้องอืด เฟ้อ

ยายังถูกใช้เพื่อต่ออายุคนไทย จากโรคความเสื่อมของร่างกาย

โรคกลุ่มใหม่ที่เกิดจากนิสัยการกินอยู่ อันมีเหตุมาจากความประมาทในวิถีการดำรงชีวิต ได้แก่ โรคความดันเลือดสูง โรคไขมันเลือดสูง โรคหัวใจ โรคเบาหวาน ฯลฯ

โรคเหล่านี้มักต้องกินยาตลอดชีวิต เเละคนที่เจ็บป่วยก็พึงใจ ที่จะพึ่งพายาเคมีเหล่านี้ เพื่อต่ออายุตนเอง

ขณะเดียวกันก็ใช้ชีวิตกินอยู่ตามสบายถึงเวลาเจ็บป่วยก็หาหมอ หายามากินเพื่อรักษาโรค

การใช้ยาเคมีของคนไทย ทั้งประเทศ จึงถีบตัวสูงขึ้นอย่างน่าตกใจ โดยเฉพาะในช่วงระยะเวลา 20 ปีให้หลัง

ปี 2533 คนไทยซื้อยารักษาโรค 69,292 ล้านบาท และไต่ขึ้นเป็น 85,366 ล้านบาท ในปี 2536

ซึ่งเป็นตัวเลขก่อนวิกฤตเศรษฐกิจ

ในปัจจุบันตัวเลข ดังกล่าวยิ่งพุ่งสูงขึ้นอีกมากนัก นี่คือดัชนีชี้วัดปริมาณยาเคมีที่บริโภคเข้าไปในวงจรชีวิตของคนไทย

ทีนี้เราต้องรู้ความจริงอีกอย่างหนึ่งว่า… 

ยาทุกเม็ด ทุกชนิด ที่เรากินเข้าไป ล้วนเป็นพิษทั้งนั้น เพียงแต่เรียกด้วยคำสวยหรู เสียใหม่ว่า “ผลข้างเคียง หรือ side effect”

ยาเมื่อเข้าสู่ร่างกายแล้ว ต้องถูกกำจัดออกไป ไม่ทางตับก็เป็นทางไตเสมอ

บางชนิดถูกสะเทินฤทธิ์ที่ตับมากกว่า บางชนิดขจัดที่ไต

ที่ขจัดทางไตมากบางชนิด ก็เป็นพิษต่อไตโดยตรง บางชนิดเพิ่มภาระแก่ไต กินพร่ำเพรื่อ หรือกินนานๆ ย่อมทำให้ไตพังได้

นับตั้งแต่ ยาแก้ปวด พาราเซตามอล อะเซตามิโนเฟน ยาเคลือบกระเพาะที่มีอะลูมิเนียม ยาลดการสร้างกรดที่ชื่อว่า ไซเมทิดีน

ล้วนเป็นพิษกับไต

ยาปฏิชีวนะ ปฐมภูมิ อย่าง ยารักษาสิวเตตร้าซัยคลิน

ยาอะม็อกซิซิลลิน ที่ใช้รักษาคออักเสบ ถึงตติยภูมิชื่อใหม่ ๆ ที่ถูกใช้แก่โรคติดเชื้อรุนแรง

แต่ภายหลังขยายฐานการใช้สำหรับรักษาคออักเสบด้วย พวกนี้ล้วนเพิ่มภาระต่อไตโดยใช่เหตุ

แอสไพริน ซึ่งใช้ป้องกัน เกล็ดเลือดจับตัวในคนไข้โรคหัวใจ และโรคความดันเลือดสูง โดยต้องกินตลอดชีวิต

ยาลดความดันเลือดชนิดต่างๆ ยารักษาเบาหวานหลายตัว ที่กินกันทั่วประเทศ และต้องกินตลอดชีวิต

ยาลดไขมัน ซึ่งคนไข้ต้องกินไปหลาย ๆ ปี แทนที่จะควบคุมอาหารและใช้วิธีการที่เหมาะสมอื่นๆ

ยาแก้ข้ออักเสบ ที่ใช้กันดาษดื่น เเละขายกันในร้านขายยาทั่วไป กระทั่งยานอนหลับนับสิบชนิด

การแพทย์เเบบแผนที่มุ่งหน้า จ่ายยารักษาโรคให้คนไข้ โดยไม่เน้นการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเลย ก็เหมือนกำลังฆ่าคนไข้ทางอ้อม ให้ตายผ่อนส่ง

ไม่ด้วยโรคตับ ก็ด้วยไตวาย แม้ว่าแพทย์ผู้สั่งใช้ยา จะติดตามเป็นระยะ แต่ก็หาใช่ว่า สารเคมีเหล่านี้ จะไม่บั่นทอนการทำงานของไต วันละเล็กละน้อย ทุกเมื่อเชื่อวัน

ส่วนที่ยังซื้อยากินเอง โดยไม่ได้ปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรเลยก็เป็นปัญหาใหญ่ด้วยเช่นกัน

ในประเด็นนี้ คนไทยจะปลอดไตวาย ต้องสร้างวิสัยทัศน์ใหม่ว่า ตัวตนของเราเป็นผลพวงของสิ่งที่เรากิน สิ่งที่เราคิด และสิ่งที่เราปฏิบัติ

เมื่อเจ็บป่วยพึงใช้ยาแต่พอควร พ้นจากนี้แล้วให้ดำเนินวิถีชีวิตที่ถูกต้อง คือคำตอบสุขภาพที่แท้จริง

ตารางแสดงชนิดของยาที่มีพิษต่อไต
หรือเพิ่มภาระแก่ไตในการขับถ่ายจากร่างกาย

ชื่อทางเคมี ชื่อการค้า เป็นพิษต่อไต เพิ่มภาระแก่ไต
กลุ่มยาต้านแบคทีเรีย      
Aminoglycocide      
  Amikacin, Kanamycin, Gentamicin   +++  
Cephalosporin      
  Ceftibufen, Cefazolin, Cephalothin, Cefuroxime      
  Cefamandole, Cefixime, Cefaclor, Cefalexin     ++
Chloramphenical, Thiamphenical Urfamycin®   +
Penicillin, Ampicillin, Amoxicillin, Auxmentin      
  Cloxacillin, Dicloxacillin     +
Norfloxacin, Ofloxacin Lexinor®, Ofloxin®, Tarivid®   ++
 Tetracyclin, Oxytetracyclin   +++  
 Doxycylin, Minocyclin     ++
Co-trimoxazol + Sulfamethoxazole Bactrim®   ++
Lincomycin     ++
Spectinomycin Trobicin®   ++
Vancomycin Vancocin® ++  
Streptomycin   +++  
 Sulfadiazine   ++  
ยาต้านไวรัส      
Acyclovia Acyvir®   ++
ยาล้างทางเดินปัสสาวะ      
Phenazopyridine Azo®, Sumedium®   ++
ยารักษาเบาหวาน      
Glybenclamide Daonil®   ++
Glyclazide Minidiab®   ++
Chlorpropamide Diabenese®   ++
ยารักษาไขมันเลือดสูง      
Bezafibrate Bezalip®   ++
Gemfibrozil Lopid®, Lipozil®   ++
Fenofibrate Lipanthyl®   ++
ยารักษาโรคหัวใจและความดันเลือด      
Nifedipine Adalat®   ++
Digoxin Lanoxin®   ++
Glyceryl Trinitrate     ++
Quinapril Accupril®   ++
Hydralazine Apresoline®   ++
Captopril Capoten®   ++
Clonidine Capril®, Catapres®   ++
Perindopril Coversyl®   ++
Methyldopa Aldomet®   ++
Delapril Cupressin®   ++
Enalapril Enaril®   ++
Minoxidil Noxidil®   ++
Ramipril Tritace®   ++
Lisinopril Zestril®   ++
Propanolol Inderal®   ++
Nifedipine Calcigard®   ++
Nicardipine Cardipine®   ++
Spironolactone Aldactone®   ++
ยาแก้หอบหืดและยาทางเดินหายใจ      
theophylline Asmasal®   ++
ยาแก้ปวด      
Paracetamol Tyrenol®   ++
Aspirin     ++
Acetaminophen Sura®   ++
Mefenamic Ponstan®, Mefenix®   ++
Metamizole Novalgin®   ++
ยาแก้ปวดข้อและยาคลายกล้ามเนื้อ      
 Ibuprofen Ibufen®, Brusil®, Brufen®  ++  
  Fenslow®, Bruprin®, Deflem® etc. ++  
Indomethacin Indocid®   ++
Naproxen Synflex®, Artagen®, Annoxen®, ++  
  Flexin®, Naprosyn®, Nasin® etc. ++  
 Diclofenac Cataflam®, Myonac®, Putaren®, ++  
  Voltaren®, Voren®, Volnac® etc. ++  
 Piroxicam Feldene®   ++
Ketoprofen Oruvail®   ++
ยากล่อมประสาทและยานอนหลับ      
Alprazolam Anpress®, Alcelam®   ++
Lorazepam Ativan®   ++
Diazepam      
Alprazolam Xanax®   ++
Flufenazine Fluzine®   ++
Perphenazine Pernazine®   ++
Belladona Bellergal®   ++
Triazolam Halcion®   ++
Flurazepam Dalmadorm®   ++
ยาลดกรดและแก้โรคกระเพาะ      
Aluminium Hydroxide และเกลือ Aliminium ทั้งกลุ่ม Actal®, Alum milk®,   ++
 Ranitidine Ranidine®   ++
 Cimetidine Cimedine®, Rinadine®, ++  
  Cencamet®, Cindine®, Cigamet® ++  
  Cimet-P®, Cimetidin® etc. ++  

Cr.คู่มือคนรักไต