นมผึ้ง (Royal jelly)
นมผึ้งเป็นสารอาหารที่สร้างโดยผึ้งงานตัวโตเต็มวัยที่มีอายุประมาณ 5-15 วัน (nurse bees) สำหรับเลี้ยงตัวอ่อนของผึ้งงานและผึ้งตัวผู้ ตลอดระยะ 3 วันแรก แต่เลี้ยงผึ้งนางพญาตลอดชีวิต
ลักษณะ
เป็นครีมข้นสีขาวนวล กลิ่นฉุน เปรี้ยว รสเฝื่อน ถ้าทิ้งไว้ที่อุณหภูมิห้องจะค่อยๆ แข็งตัวและสีเข้มขึ้น ที่สุดเป็นของแข็ง เปราะ สีอำพัน
ตามประกาศของกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 133 พ.ศ. 2533 รอยัลเยลลี่ หมายความถึง ผลิตภัณฑ์ของผึ้งที่ใช้เป็นอาหารสำหรับเลี้ยงนางพญา
มีลักษณะเหมือนครีมข้นสีขาว และหมายความรวมถึง รอยัลเยลลี่ที่นำไประเหยน้ำออกจนแห้ง ด้วยกรรมวิธีที่เหมาะสม มีลักษณะเป็นผงหรือเกล็ดหรือลักษณะอื่น
และผลิตภัณฑ์รอยัลเยลลี่ หมายความว่า ผลิตภัณฑ์ที่ีมีรอยัลเยลลี่ผสมกับส่วนประกอบอื่น เช่น น้ำผึ้ง เกสรดอกไม้ หรือสิ่งอื่นที่ไม่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ
การเก็บ
ผู้เลี้ยงผึ้งจะนำหลอดนางพญาเทียมพร้อมทั้งตัวอ่อนผึ้งอายุ 18-24 ชม. ใส่ไว้ในรัง เพื่อให้ผึ้งงานสร้างนมผึ้ง
สำหรับผึ้งนางพญา ใส่และเก็บใช้ทุก 3 วัน โดยนมผึ้งสดที่ได้ต้องเก็บที่อุณหภูมิต่ำกว่า 0 องศาเซลเซียส ในที่มืดทันที นมผึ้งแห้งควรใช้วิธีทำให้แข็ง และระเหิดน้ำออกภายใต้สุญญากาศ (freeze drying)
การบรรจุ ควรใช้ภาชนะที่ทนกรดและด่าง บรรจุเต็มขวด เพื่อให้ช่องว่างของอากาศน้อยที่สุด ปิดฝาให้สนิทเก็บที่ -5 ถึง -7 องศาเซลเซียส หรือถ้าเก็บที่ -2 องศาเซลเซียส จะเก็บได้นาน 1 ปี ถ้าเก็บที่อุณหภูมิ -18 องศาเซลเซียส จะเก็บได้นานถึง 3 ปี
องค์ประกอบสำคัญ
ส่วนประกอบของนมผึ้ง จะขึ้นกับแหล่งผลิต ฤดูกาลที่เก็บเกี่ยว และเปลี่ยนแปลงไปตามระยะของการเจริญเติบโตของตัวอ่อนที่จะเจริญไปเป็นนางพญา รวมทั้งการเก็บรักษาเมื่อเก็บมาแล้ว โดยทั่วไปเมื่อเก็บมาทำให้แห้งในสุญญากาศ จะได้ pH 5 และมีสารอาหารต่างๆดังนี้
– โปรตีนมากกว่า 12 ชนิด รวม 14-15% เป็น oligopeptide หลายชนิด สารสำคัญที่มีคือ royalisin ซึ่งสูตรโครงสร้างคล้าย mammalian epidermal growth factor และมีกรดอะมิโน His., Lys., Pro., β-ala และGlu. สูง รวมทั้งมี insulin-like peptide
– ไขมัน 3-5% สารสำคัญที่พบในส่วนของไขมัน คือ 10-OH-trans-(2)-decenoic acid (HDA) C10H18O3 [HO-(CH2)7-CH=CH-COOH] ซึ่งมีประมาณ 90% และไขมันชนิดอื่นๆ เช่น sebacic acid, sterols เช่น คอเลสเตอรอล β-stigmasterol
-คาร์โบไฮเดรต 10-12% น้ำตาลเป็น monosaccharide กินแล้วดูดซึมสู่ระบบไหลเวียนไปเผาผลาญให้พลังงานทันที
– พวกไวตามิน B โดยมีกรด pantothenic ปริมาณสูงมาก อาจถึง 250 มคก./ก. และniacin (75 มคก./ก.)
– เอนไซม์ acetylcholine esterase, acid phosphatase
– ฮอร์โมน testosterone, estrogen, progesterone, cortisol
– สารอื่นๆ เช่น acetyl chline
ตามประกาศของกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 133 พ.ศ. 2533 รอยัลเยลลี่และผลิตภัณฑ์เป็นอาหารควบคุมเพาะ ซึ่งต้องมีคุณภาพและมาตรฐาน ดังนี้
1. มีกลิ่นและรสของรอยัลเยลลี่
2. 10-hydroxy-2-decenoic acid ไม่น้อยกว่าร้อยละ 1.5 โดยน้ำหนักหรือไม่น้อยกว่าร้อยละ 3.5 โดยน้ำหนัก สำหรับรอยัลเยลลี่ที่นำไประเหยน้ำออกจนแห้ง
3. มีความชื้นไม่เกินร้อยละ 5 โดยน้ำหนัก สำหรับรอยัลเยลลี่ที่นำไประเหยน้ำออกจนแห้ง
4. มีโปรตีนไม่น้อยกว่าร้อนละ 11 โดยน้ำหนัก หรือไม่น้อยกว่าร้อยละ 30 โดยน้ำหนักสำหรับรอยัลเยลลี่ที่นำไประเหยน้ำออกจนแห้ง
ผลิตภัณฑ์รอยัลเยลลี่ ต้องมีคุณภาพและมาตรฐาน ดังนี้
1. มี 10-hydroxy-2-decenoic acid ไม่น้อยกว่าร้อยละ 0.16 โดยน้ำหนัก
2. ไม่มีจุลินทรีย์ที่ทำให้เกิดโรค
3. ไม่มีสารเป็นพิษจากจุลินทรีย์ หรือสารเป็นพิษอื่นในปริมาณที่อาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพ
4. มีคุณภาพหรือมาตรฐานอื่น ตามที่ได้รับความเห็นชอบจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา
ผลการวิเคราะห์รอยัลเยลลี่ที่มีในประเทศ พ.ศ. 2533-2538 จำนวน 199 ตัวอย่าง พบว่าปริมาณ 10-HDA คิดเป็นร้อยละ โดยน้ำหนักในรอยัลเยลลี่ชนิดสด มี 1.5-2.1 ชนิดแห้งมี 3.6-5.6 และผลิตภัณฑ์รอยัลเยลลี่มี 0.02-4.90 รวมแล้วถือว่าเข้ามาตรฐาน มีเพียง 4% ที่ต่ำกว่ามาตรฐาน
ฤทธิ์ทางชีวภาพ
ความสนใจในนมผึ้งเริ่มมีตั้งแต่ปี ค.ศ. 1888 แต่เนื่องจากสลายตัวง่ายในระยะแรกจึงยังไม่ค่อยมีการศึกษามาก ปัจจุบันพอสรุปฤทธิ์ทางชีวภาพ เช่น ต่อต้านแบคทีเรียทั้งชนิด กรัม +ve และกรัม -ve เช่น Stap. aureus, Proteus velgaris, Pseudomonas aeruginosa
ฤทธิ์นี้เกิดจาก HDA และ ω-6 FA ซึ่งจะเกิดหลังจากเก็บมาแล้วชั่วระยะเวลาหนึ่ง และจะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ภายใน 24 ชม. จากนั้นจะลดลงและจะหมดไปถ้าเก็บที่อุณหภูมิห้องประมาณ 1 เดือน ส่วนฤทธิ์อื่นๆ แสดงตามตารางที่ 1
ประโยชน์
ในทวีปยุโรปนิยมใช้กันมานาน เพื่อบำรุงร่างกายผู้ที่อ่อนแอ เป็นโรคเรื้อรัง ช่วยรักษาบาดแผล บรรเทาอาการปวดข้อใน rheumatism ผู้เป็นโรคประสาทอ่อนๆ (neurasthenia) บรรเทาความเครียด แก้โรคโลหิตจางและเสริมสวย
ในประเทศไทยการใช้นมผึ้งได้รับความสนใจมากขึ้น มีอุตสาหกรรมการเลี้ยงผึ้งเพิ่มขึ้น มีการสังเคราะห์นมผึ้งเทียม เพื่อเป็นอาหารตัวอ่อนและเพาะพันธุ์ผึ้งนางพญา และใช้เป็น
ก.ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร
ในบุคคลที่ขาดโปรตีนและสารอาหารอื่น ช่วยบำรุงประสาท (ไวตามิน B ) และสมอง (Ach) โดยนมผึ้งแช่แข็งนิยมใช้ร่วมกับน้ำผึ้ง เพื่อเพิ่ม glucose, fructose ฯลฯ ที่เชื่อว่าสูญเสียระหว่างการแช่แข็ง ขนาดที่ให้โดยการกินต้องสูงกว่าการฉีด 4 เท่า
ตารางที่ 1 ตัวอย่างฤทธิ์ทางชีวภาพของนมผึ้ง
ฤทธิ์ | สารที่ออกฤทธิ์ | หมายเหตุ |
– กระตุ้นการเจริญเติบโต | นมผึ้งสด(royalisin) | อาจมี gonadotropin action |
– ช่วยการทำงานของเซลล์ – เพิ่ม precursor ของฮอร์โมน |
เพิ่ม O2 consumption ในตับหนูขาว จากต่อมหมวกไตในหนูถีบจักร |
|
-กระตุ้นการเจริญของรังไข่ และการหลั่ง testosterone |
||
– ชะลอความชรา – ช่วยให้อายุยืน |
นมผึ้ง กรด pantothenic |
ฉีดเข้าช่องท้อง ในหนูถีบจักร ในแมลงวันผลไม้ |
กลไกอาจโดยลดการใช้พลังงาน | ||
– ป้องกันพิษของตะกั่ว – ยับยั้งมะเร็งเม็ดเลือดขาว |
นมผึ้ง HDA |
หนูขาว กลไกโดยกระตุ้นเอนไซม์ ฉีดในหนูถีบจักร |
และ ascitic tumors | ที่ pH<5.6 | |
– ป้องกันและรักษา solid tumor |
นมผึ้ง | ให้หนูถีบจักรกิน |
– ต้านมะเร็งปากมดลูก – ต้านมะเร็งเต้านม |
ในหนูโกร๋น เสริมฤทธิ์เคมีบำบัด บรรเทาอาการข้างเคียงของเคมีบำบัด |
|
– ต้านแบคทีเรียพวก กรัม +ve | โปรตีน royalisin | ฤทธิ์นี้ทนต่อความร้อน 100 องศาเซลเซียส 15 นาที |
– ต้านเชื้อวัณโรค | alcohol/water soluble | |
– ต้านจุลินทรีย์หลายชนิด ราและ actinomycetes E. coli, Micrococcus pyogens |
นมผึ้ง | ช่วยการแบ่งตัวของ lymphocytes นมผึ้งชนิดแช่แข็งประสิทธิภาพสูงกว่า นมผึ้งชนิดแห้ง |
– ต้านการอักเสบ ช่วยให้แผลหายเร็วขึ้น |
นมผึ้ง |
ป้องกันและรักษากระเพาะอาหาร อักเสบ จากความเครียดในหนูขาว |
– ต้านการจับตัวของกล็ดเลือด – ขยายหลอดเลือด สร้าง Rbeฯลฯ – ลดการสร้างไขมัน |
นมผึ้ง สารคล้าย Ach นมผึ้งและ HDA |
ทั้งในคนปกติและผู้ป่วย ในสุนัขทดลอง ทาใบหนู hamster จะลดขนาด ต่อมไขมันและการสร้างไขมัน |
– ต้านการเจริญของเชื้อรา – ลดความดันโลหิต |
กรด sebacic protein hydrolysate |
ที่ผิวหนัง ในหนูขาว |
ปัจจุบันยังไม่มีข้อมูลที่ชัดเจนในคน แต่อาจใช้ช่วยบรรเทาอาการต่างๆ ตามฤทธิ์ที่มี
ค.เครื่องสำอาง
นมผึ้งช่วยบำรุงผิวให้อ่อนนุ่ม ลดความมันของผิว ทำให้รอยกระในผู้สูงอายุจางลง โดยใช้ในขนาด 20-10,000 มก.% และใช้บำรุงผมในผู้ที่ผมร่วงก่อนวัย
ข้อควรระวัง
เนื่องจากนมผึ้งสลายตัวง่าย จึงควรเก็บรักษาให้ดี ผู้ที่เป็นโรคหอบหืด หรือมีภูมิไวเกิน ไม่ควรใช้นมผึ้งเพราะทำให้เกิด anaphylactic shock ถึง แก่ชีวิตได้
สาเหตุอาจเนื่องจากโปรตีนขนาดโตปริมาณที่สูงเกิน หรือมีสารคล้าย Ach และไม่เคยใช้ในขนาดสูงเกิน เพราะเกิดการกระตุ้นทำให้ร้อน นอนไม่หลับ ฯลฯ รวมทั้งอาจแพ้สารบางชนิดในนั้นได้
รูปแบบ และขนาดที่ใช้
การใช้นมผึ้งจะมีแทบทุกรูปแบบ ทั้งที่เป็นนมผึ้งสด แคปซูล ยาฉีด โลชั่น ครีม หรือสบู่ เช่น Lyo-Rogel