ไฟโทเคมิคอลต้านอนุมูลอิสระ
อนุมูลอิสระ คืออะไร
เซลล์ ทุกเซลล์ในร่างกายของคนเรา
จะใช้ออกซิเจนในกระบวนการเผาผลาญอาหารเพื่อให้ได้พลังงาน
ขณะที่เกิดปฎิกิริยากับออกซิเจน
จะมีการสร้างอนุมูลอิสระ
อนุมูลอิสระสามารถแย่งชิงอิเล็กตรอน
จากแหล่งอื่น ๆ ในร่างกายได้อย่างรวดเร็ว
สารต้านอนุมูลอิสระสามารถปกป้องร่างกาย
ได้ด้วยการให้อิเล็กตรอนของตัวเองแก่อนุมูลอิสระ
ทําให้อนุมูลอิสระไม่ต้องการอิเล็กตรอน
จากเซลล์ของร่างกาย
สาเหตุที่ทำให้อนุมูลอิสระเพิ่มขึ้นในร่างกาย
.
.
.
.
ในแต่ละวันร่างกายของเราจะเจอกับอนุมูลอิสระประมาณ 10 ล้านครั้ง
.
หากอนุมูลอิสระมีมากเกินไป
จะมีส่วนที่ทำลายเซลล์ในร่างกาย เรียกว่า “พิษจากการออกซิเดชั่น”
จะทำให้เกิดปัญหาสุขภาพตามมา เช่น
มะเร็ง โรคหัวใจ ต้อกระจก รูมาตอยด์ และเมื่อมีไขมันไปสะสมอยู่ในบริเวณหลอดเลือดแดงที่ถูกทำลาย
โรคอัลไซเมอร์ และโรคอื่นๆ
.
หากอนุมูลอิสระไปทำลายผนังหลอดเลือดแดง
จะทำให้เกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดในที่สุด
ไฟโตเคมิคอลทำหน้าที่ดังนี้
(1) ขับอนุมูลอิสระโดยตรงและปลดอาวุธพวกมัน
(2) สนับสนุนร่างกายในการจัดหาฐานโภชนาการ
ที่แข็งแกร่งซึ่งช่วยในกระบวนการล้างพิษ
(3) ยับยั้งการแสดงออกของการเปลี่ยนแปลง
ที่ไม่แข็งแรงในเซลล์และเพื่อป้องกันการทำสำเนาของเซลล์ที่ไม่แข็งแรง
(4) ส่งเสริมการผลิตเอนไซม์ต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการซ่อมแซมดีเอ็นเอ
.
สารต้านอนุมูลอิสระ
ส่วนหนึ่งมาจากอิทธิพลของไฟโทเคมิคอลผ่านเอนไซม์
สารต้านอนุมูลอิสระทำหน้าที่ปกป้องพิษ
อันเกิดจากปฎิกิริยา
ที่มีการรวมตัวกับออกซิเจนในร่างกาย (ปฎิกิริยาออกซิเดชั่น)
หากไม่มีการต้านอนุมูลอิสระที่เกิดจากปฎิกิริยาออกซิเดชั่น
จะมีอันตรายเกิดขึ้นกับร่างกายได้ตลอดเวลา
แหล่งสารต้านอนุมูลอิสระ
- เบต้าแคโรทีน (Beta-carotene) และวิตามินเอ
พบมากในผัก ผลไม้ที่มีสีเหลือง สีส้ม เช่น
แครอท ฟักทอง มะละกอ มะม่วงสุก
มะเขือเทศ ผักคะน้า ผักตำลึง
. - ลูทีน (Lutein) และซีแซนทิน (Zeaxanthin)
พบมาก เช่น ผักคะน้า ผักปวยเล้ง บร็อคโคลี่
ข้าวโพด ถั่วลันเตา
. - ไลโคปินส์ (Lycopene) พบในผักผลไม้ที่มีสีแดง
เช่น มะเขือเทศ แตงโม แอปริคอต
- ซีลีเนียม (Selenium) พบได้ในอาหาร เช่น
เนื้อแดง ทูน่า ตับ ไข่ ผักโขม
. - วิตามินซี พบมากในผลไม้จำพวกฝรั่ง และส้ม
. - วิตามินอี พบได้ในอาหารหลากหลายชนิด เช่น
ถั่ว เมล็ดพันธุ์ ผักใบเขียว ผลไม้ เนื้อสัตว์
ไข่ จมูกข้าวสาลี ขนมปังโฮลวีต ซีเรียลชนิดโฮลเกรน