รวมความรู้ด้านสุขภาพ Health Knowledgeเรื่องเล่าสะกิดสุขภาพ Health Story ปัสสาวะบ่อยตอนกลางคืน การวิจัยใหม่ ช็อควงการจากญี่ปุ่น พบแนวทางรักษา goy January 28, 2021August 30, 2021 ปัสสาวะบ่อยตอนกลางคืน การวิจัยใหม่ช็อควงการจากญี่ปุ่น พบแนวทางรักษา เรามักได้ยินผู้สูงอายุ บ่นว่า เพลีย ง่วงนอน ตอนกลางคืนไม่ค่อยได้นอน ตื่นขึ้นมาปัสสาวะบ่อย ๆ แต่ก็ไม่รู้จะทำยังไง Toromoto Kazumasa อาจารย์หมอทางด้านระบบทางเดินปัสสาวะ (urologist) แห่งมหาวิทยาลัยแพทย์นารา (Nara Medical University) ได้เผยแพร่งานวิจัย โดยการวิจัย ดังกล่าว ได้ให้ หนุ่ม Terakita ไปอาศัยอยู่ที่บ้านคุณลุง Hayashiทั้งคู่ อยู่ด้วยกันทั้งวัน และทำกิจกรรมต่าง ๆ เหมือนกัน อาหารที่ทาน คำนวณโดย Yamaguchi Chikage นักโภชนาการ ของ Nara Medical University Hospital) และการวัดปริมาณปัสสาวะนั้น ให้ปัสสาวะใส่ถ้วยตวง ก่อนเริ่มกิจกรรม ในตอนเช้า ให้ทั้งคู่ ปัสสาวะให้หมดกระเพาะปัสสาวะ (bladder) อาหารเมื้อช้า เริ่มต้นด้วยอาหารญี่ปุ่น มีน้ำอยู่ในอาหาร 600 mL และดื่มน้ำชา 530 mL รวม 1,130 mL– หนุ่ม Terakita ฉี่ 4 ครั้ง ปริมาณ 300+400+300+100 ml – ลุง Hayashi ฉี่ 2 ครั้ง ปริมาณ 100+110 ml มื้อกลางวัน เป็นแซนวิช มีน้ำอยู่ในอาหาร 140 ml และดื่มน้ำเปล่า 380 mlช่วงบ่ายออกกำลังกาย ด้วยการทำสวน หลังจากนั้น เล่น VDO GAME ด้วยกัน– หนุ่ม Terakita ปัสสาวะ 3 ครั้ง 350+200+150 ml– ลุง Hayashi ปัสสาวะ 3 ครั้ง 40+180+70 ml และก็ถึงเวลาที่ทั้ง 2 คนแยกกัน ก่อนเข้านอน หนุ่ม Terakita ปัสสาวะ 4 ครั้ง 320+150+180+150 mlลุง Hayashi ปัสสาวะ 1 ครั้ง 180 mlเมื่อคำนวณดูปริมาณน้ำที่เข้าร่างกายในวันนั้น ทั้งคู่มีปริมาณน้ำเข้าร่างกาย คนละ 2,730 mlโดยที่ หนุ่ม Terakita เหลือปริมาณน้ำในร่างกายน้อย ในขณะที่ ลุง Hayashi มีปริมาณน้ำเหลือในร่างกายเยอะมากในคืนนั้น หนุ่ม Terakita นอนหลับรวดเดียว โดยไม่ได้ตื่นระหว่างคืน ส่วนลุง Hayashi ตื่นเพื่อไปปัสสาวะ 3 ครั้ง 130+420+280 ml วันรุ่งขึ้น เมื่อตื่นขึ้นมา จึงรู้สึกอ่อนเพลีย ง่วง งีบบ่อยๆ ก่อนเข้านอน หมอ อัลต้าซาวด์ดู น้ำในกระเพาะปัสสาวะ ปรากฎว่า ในกระเพาะปัสสาวะของทั้งคู่ เกือบไม่มีน้ำ แล้วน้ำในร่างกายของ ลุง Hayashi หายไปอยู่ที่ไหน? ตับ (liver) ไต (kidney) เส้นเลือด (blood vessels) ลำไส้ (intestine) น่อง (calves) เพื่อพิสูจน์ว่า น้ำในร่างกายของลุง Hayashi ไปอยู่บริเวณน่อง เจ้าหน้าที่จึงได้ทำการวัดรอบน่องของ ลุง Hayashi ใน 2 ช่วงเวลา – ตอนตื่นนอน ข้างขวาวัดได้ 40.5 เซนติเมตร ข้างซ้าย วัดได้ 41.5 เซนติเมตร – เมื่อก่อนนอน ข้างขวาวัดได้ 42.7 เซนติเมตร ข้างซ้าย วัดได้ 45.7 เซนติเมตร นอกจากนี้ ยังได้พิสูจน์โดยใช้อุปกรณ์วัดปริมาณน้ำในส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย แสดงให้เห็นว่า ในช่วงเช้า น้ำ ในลำตัวและแขน เกือบคงที่แต่น้ำในส่วนขา ค่อย ๆ สูงขึ้นเรื่อยๆช่วงบ่าย น้ำในขาเกือบคงที่แต่น้ำในแขนและลำตัวค่อย ๆ ลดลงและตอนกลางคืนก่อนนอน น้ำในลำตัวค่อย ๆ ลด น้ำในแขนคงที่แต่น้ำในขาเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆเมื่อเปรียบเทียบปริมาณน้ำในขาของลุง Hayashi ก่อนนอนมีปริมาณน้ำมากกว่าตอนเช้าถึง 1.5 ลิตร !!! สาเหตุเพราะ วงจรของหลอดเลือดในร่างกายของคนเรา มีเส้นเลือดแดงจากหัวใจ ลงมาที่น่อง แล้วกลับขึ้นหัวใจทางเส้นเลือดดำเมื่อร่างกายมีการเคลื่อนไหว หัวใจกับน่อง จะเปรียบเสมือนปั้มน้ำ ถ้าน้ำในร่างกายมีมาก ก็จะทิ้งออกทางกระเพาะปัสสาวะ ที่อยู่ตรงกลางร่างกายเมื่อมีอายุมากขึ้น ไม่ค่อยได้เคลื่อนไหวร่างกาย ปั้มน้ำที่น่อง ไม่ค่อยได้ทำงาน น่องจึงเป็นเหมือนแท็งค์น้ำ โดยมีน้ำแทรกอยู่ระหว่างกระดูก และผิวหนัง เรียกว่า “interstitium”และเมื่อล้มตัวลงนอน น้ำบริเวณน่อง ค่อย ๆ ย้อนกลับมาที่กระเพาะปัสสาวะ ตามแรงน่วมถ่วงของโลก จึงทำให้ลุกไปปัสสาวะบ่อยหลังจากที่นอน คำแนะนำเพื่อการบำบัดดังกล่าว มี 3 วิธี คือ สวมถุงน่องแบบรัดในตอนกลางวันนอนยกขาขึ้นสูงงดทานเค็มการทดลองที่ 1คุณลุง Ando โดยปกติแล้ว จะต้องตื่นมาปัสสาวะตอนกลางคืน 4-5 ครั้งทุกคืน วันหนึ่งคุณลุง Ando ได้รับ “ถุงเท้ารัดน่อง” (compression stockings) จากคุณ Toshida Masaki Assit. Director, ศูนย์ศึกษาผู้สูงอายุ (แห่ง National Center for Geriatric & Gerontology)โดยเข้าสวมมันไว้ตอนกลางวัน เพื่อช่วยให้น่องไม่กักเก็บน้ำ ทำให้ปัสสาวะในตอนกลางวันมากขึ้น และขาไม่บวม คุณลุง Ando สามารถนอนรวดเดียวยันเช้าโดยไม่ต้องตื่นไปปัสสาวะตอนกลางคืน การทดลองที่ 2คุณหมอ แนะนำให้ลุง Hayashi นอนยกขาให้สูงขึ้น ประมาณ 15 เซนติเมตร ในช่วงบ่ายของแต่ละวัน ครั้งละประมาณ 30 นาทีหลังจากทำติดต่อกัน 1 เดือน จากที่ลุง Hayashi ต้องตื่นไปปัสสาวะตอนกลางคืน 3 ครั้ง เหลือเพียง 1.5 ครั้ง เท่านั้น การบำบัดดังกล่าวนี้เป็นการบำบัดโดยเปลี่ยนอุปนิสัย (behavior therapy) ซึ่งดีกว่าการรักษาด้วยยา เพราะว่าไม่มีผลข้างเคียง (side effect)นอกจากนี้ การงดทานเค็ม จะช่วยในเรื่องความดันโลหิตได้ เพราะการทานอาหารที่มีรสเค็ม ทำให้ความดันโลหิตสูงแล้ว ยังทำให้ร่างกายกักเก็บน้ำอีกด้วยคำเตือน : สำหรับผู้ที่เป็นโรคหัวใจ เบาหวาน ควรได้รับคำปรึกษาจากแพทย์ก่อน Related posts:น้ำมันรำข้าวลดความเสี่ยงของโรคหัวใจและหลอดเลือดThe Nutrition Talk – บทที่ 8 : การเกิดโรคความเสื่อมเรื้อรัง และทฤษฏีการแก่ชรา อนุมูลอิสระ & Oxidativ...วิตามินบี 6 (ไพริดอกซิน)ภาคไหน แชมป์ "กินเค็ม"