เพคติน (Pectins)
เป็นคาร์โบไฮเดรต เชิงซ้อน มีองค์ประกอบหลักคือ กรด galacturonic หลายโมเลกุลเชื่อมต่อกันด้วย พันธะ α-(1,4) glycosidic และมีน้ำตาล fucose, rhamnose, arabinose และ xylose เกาะติด
แหล่งและการเตรียม
เพคติน พบมากในผัก ผลไม้ไทย เรียงลำดับร้อยละ ดังนี้
มะขามเปียก | 7.3 | มะนาว | 2.7 | มะกรูด | 2.3 | ละมด | 1.8 |
มะขามอ่อน | 4.6 | มะกอก | 2.7 | ฝรั่ง | 2.2 | แอปเปิ้ล | 1.0 |
มังคุด | 3.4 | น้อยหน่า | 2.7 | ฟักทอง | 2.2 | กุยช่าย | 0.6 |
กระท้อน | 2.8 | ลำไย | 2.4 | มะขามป้อม | 2.1 | มะละกอ | 0.5 |
ส่วนการศึกษาในต่างประเทศ พบเพคตินในพืช เช่น
ถั่วลิสง | 5.98 | มะนาว | 2.90 | ฟักทอง | 1.25 | มันเทศ | 0.78 |
ส้มเช้ง | 3.90 | ส้ม | 2.36 | กระเทียม | 1.11 | แอปเปิ้ล | 0.78 |
ถั่วเหลือง | 3.45 | แครอท | 2.00 | กล้วย | 0.94 |
ในทางอุตสาหกรรม แหล่งที่สำคัญในการสกัดน่าจะเป็นเปลือกส้มโอ กล้วย ฝรั่ง และฟักทอง หรือใช้ของเหลือจากอุตสาหกรรมน้ำผลไม้ เช่น เปลือกส้ม กากแอปเปิ้ล
การสกัด อาจใช้สาร เช่น 1M calcium จะได้เกลือ calcium pectate เป็นผงสีต่างๆ ละลายน้ำได้ หรือถ้าสกัดด้วย 60% เอธานอลจะได้วุ้น ผลที่ได้จากทั้ง 2 วิธี มีปริมาณไม่ต่างกันมากนัก
ฤทธิ์ทางชีวภาพ
เพคตินละลายในน้ำ 1:20 และให้ฤทธิ์ที่น่าสนใจ เช่น
ก.ลดคอเลสเตอรอลในเลือด
– ดูดซับน้ำดีจากทางเดินอาหาร ทำให้ตับสร้างน้ำดีทดแทนจากคอเลสเตอรอลมาขึ้น
– เพคติน 12 ก./วัน ในอาหาร ทำให้ LDL-C ลดโดย HDL-C คงที่ กันการตกค้างของ LDL-C ที่หลอดเลือดหัวใจ
– เพคติน 15 ก. ร่วมกับไวตามิน C 450 ก. ทำให้คอเลสเตอรอลลดลง 10% ภายใน 6 สัปดาห์
-เพคติน 15 ก./วัน สามารถลดคอเลสเคอรอลในคนปกติได้ 5%
ข. ลดน้ำตาลในเลือด
– เมื่อละลายน้ำ เพคติน จะเป็นวุ้นเคลือบผนังลำไส้ และเพิ่มความหนืดของอาหาร ทำให้การดูดซึมแป้งและน้ำตาลลดลง
– เพตคติน 5 ก./วัน ในอาหาร 3 สัปดาห์ ช่วยการเผาผลาญกลูโคสในผู้ป่วยเบาหวาน 30 ราย
ค. เบ็ดเตล็ด
– ป้องกันการก่อมะเร็.จากเกลือน้ำดี โดยจับเกลือน้ำดีและพาออกนอกร่างกายก่อนถูกเปลี่ยนเป็นสารก่อมะเร็งโดยแบคทีเรีย
– pectin jelly รักษาโรคท้องร่วงในทารกและเด็ก
รูปแบบที่ใช้ และประโยชน์
เพคติน ใช้เป็นสารช่วยการปรุงยา (pharmaceutic acid) โดยเป็น emulgent, thickening agent ใน Thai Pharmacopoiea ในรูปผลิตภัณฑ์เสริมอาหารจะมีทั้งในรูปเยลลี่ ปล เม犀利士
็ด เพื่อใช้ควนคุมน้ำหนัก