รวมความรู้ด้านสุขภาพ Health Knowledgeศาสตร์ชะลอวัย Anti-aging ธงโภชนาการ goy October 9, 2020August 30, 2021 ธงโภชนาการ เมื่อกล่าวถึงเรื่องการทานอาหาร หลายคนมักจะบอกว่า ต้องทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ถ้าทานอาหารครบ 5 หมู่ ทานแต่ละหมู่อย่างละนิด อย่างละหน่อยได้ไหม แล้วทำไมบางคนถึงยังเป็นโรคอ้วน ในขณะที่บางคนเป็นโรคขาดสารอาหาร การจะทานอาหารให้ถูกต้องตามหลักโภชนาการนั้นจะต้องทานอย่างไรวันนี้จะมาบอกถึงปริมาณของสารอาหารที่ควรได้รับในแต่และวัน โดยจะใช้ “ธงโภชนาการ” ช่วยในการอธิบายเพื่อจะได้เข้าใจให้เห็นภาพมากขึ้น ธงโภชนาการ คืออะไร? สื่อที่ช่วยอธิบายแนวการรับประทานอาหาร โดยการนำหลักการทานอาหาร 5 หมู่ มาจัดแบ่งเป็นชั้น ให้ได้สัดส่วน ในปริมาณที่เหมาะสมกับ อายุ เพศ และกิจกรรมประจำวัน เพื่อให้ได้คุณค่าทางอาหารครบถ้วนกับความต้องการของร่างกาย ความเป็นมาของธงโภชนาการในประเทศไทย หลังจากที่ องค์การอาหาร และการเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO) และองค์การอนามัยโลก (WHO) มีการกำหนดให้แต่ละประเทศนำ FBDG (Food-Based Dietary Guidelines) ไปใช้เป็นแนงทางในการแก้ปัญหาเรื่องโภชนาการ ประกอบกับในช่วงก่อนปี 2540 ประชากรในประเทศไทยประสบปัญหาทางด้านโภชนาการ ทั้งภาวะขาดสารอาหาร รวมถึงภาวะโภชนาการเกินหรือสารปนเปื้อนจากอาหารกองโภชนาการ กรมอนามัยกระทรวงสาธารณสุข และสถาบันวิจัยโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทางด้านอาหาร และโภชนาการ ได้มีข้อสรุป และได้ร่วมกันจัดทำ “ข้อปฏิบัติการกินอาหารเพื่อสุขภาพที่ดีของไทย” หรือ “โภชนบัญญัติ 9 ประการ”ในปี 2542แต่โภชนบัญญัติ 9 ประการ ไม่ได้บอกถึงปริมาณ หรือสัดส่วนในการทาน ต่อมาปี 2543 ได้มีการพัฒนาแบบจำลองแนวทางการกินอาหาร โดยใช้ชื่อว่า “ธงโภชนาการ” ธงโภชนาการ คลิ๊ก ชั้นของธงโภชนาการ 4 ชั้น ชั้นที่ 1 หมู่คาร์โบไฮเดรตประกอบไปด้วยอาหารประเภท ข้าว เผือก แป้ง ขนมปัง มัน ธัญพืชทุกชนิด และผลิตภัณฑ์จากแป้ง โดยเน้นที่ข้าวเป็นหลัก 8-12 ทัพพี/วันกลุ่มแป้งข้าวที่ให้สารอาหารเท่ากันข้าวสุก 1 ทัพพีก๋วยเตี๋ยว 1 ทัพพีข้าวเหนียวครึ่งทัพพีขนมจีน 1 จับขนมปัง 1 แผ่นบะหมี่ 1 ก้อน ชั้นที่ 2 หมู่วิตามิน และแร่ธาตุแบ่งครึ่งเป็นฝั่งซ้ายและฝั่งขวา โดยฝั่งซ้ายมีสัดส่วนมากกว่าฝั่งขวา ฝั่งซ้ายประกอบด้วยผักรับประทานพืชผัก 4-6 ทัพพี/วันกลุ่มผักที่ให้สารอาหารเท่ากันฟักทองสุก 1 ทัพพีคะน้าสุก 1 ทัพพีผักบุ้งจีนสุก 1 ทัพพีแตงกวาดิบครึ่งลูก (ผลกลาง) ฝั่งขวาประกอบด้วยผลไม้ทานหลังอาหาร หรือทานเป็นครั้งคราว 3-5 ส่วน/วันกลุ่มผลไม้ที่ให้สารอาหารเท่ากันเงาะ 4 ผลฝรั่งครึ่งลูก (ผลกลาง)มะม่วงดิบครึ่งลูกกล้วยน้ำหว้า 1 ผลส้มเขียวหวาน 1 ผล (ผลใหญ่)มะละกอ / สับปะรด / แตงโม 6-8 ชิ้น (ชิ้นคำ) ชั้นที่ 3 หมู่โปรตีนแบ่งครึ่งเป็นฝั่งซ้ายและฝั่งขวา โดยฝั่งขวามีสัดส่วนมากกว่าฝั่งซ้าย ฝั่งซ้ายประกอบด้วยเนื้อสัตว์ ธัญพืช โปรตีนรับประทาน 6-12 ช้อน/วันกลุ่มเนื้อสัตว์ที่ให้สารอาหารเท่ากันเนื้อปลาทู 1 ช้อนเนื้อหมู 1 ช้อนไข่ไก่ครึ่งฟองเต้าหู้แข็งครึ่งชิ้นถั่วสุกแห้ง 2 ช้อน ฝั่งขวาประกอบนมดื่มนมเป็นประจำ 1-2 แก้ว/ วันกลุ่มนมที่ให้สารอาหารที่เท่ากันนมสด 1 แก้วโยเกิร์ต 1 ถ้วยนมพร่องมันเนย 1 แก้ว ชั้นที่ 4 หมู่ไขมัน และอาหารรสจัดประกอบด้วยอาหารประเภทไขมัน และอาหารที่ให้รสจัด เช่น เกลือ และน้ำตาลรับประทานเพียงเล็กน้อย เท่าที่จำเป็น กลุ่มอาหารหน่วยพลังงาน (กิโลแคลอรี่)1,6002,0002,400กลุ่มแป้งข้าวทัพพี81012ผักทัพพี4(6)56ผลไม้ส่วน3(4)45เนื้อสัตว์ช้อนกินข้าว6912นมแก้ว2(1)11น้ำมัน น้ำตาลและเกลือช้อนชากินแต่น้อยเท่าที่จำเป็น . หมายเหตุ :เลขใน () คือปริมาณที่แนะนำสำหรับผู้ใหญ่1,600 กิโลแคลอรี่ สำหรับ เด็ก อายุ 6 – 13 ปี , หญิงวัยทำงาน 25 – 60 ปี และ ผู้สูงอายุ 60 ปีขึ้นไป2,000 กิโลแคลอรี่ สำหรับวัยรุ่นหญิง – ชาย อายุ 14 – 25 ปี และ ชายวัยทำงาน อายุ 25-60 ปี2,400 กิโลแคลอรี่ สำหรับหญิง – ชาย ที่ใช้พลังงานมาก ๆ เช่น ผู้ใช้แรงงาน นักกีฬา เกษตรกร Related posts:อาหารจากพืชจะให้พลังงานแก่นักกีฬาที่ต้องใช้แรงมากเพียงพอหรือ?The Nutrition Talk – บทที่ 7.3 : อาหาร 7 หมู่ (ตอนที่3)การปรุงอาหารด้วยสาหร่ายฮิจิกิและอาราเมะอะไรคือ อาหาร เมดิเตอร์เรเนียน ?