สารอาหาร
สารอาหาร คือ สารประกอบทางเคมีที่ร่างกายนำมาใช้ในการสร้างเสริมและซ่อมแซมเนื้อเยื่อ และทำให้เซลล์มีพลังงานที่จะส่งสัญญาณกลับไปกลับมา เพื่อก่อให้เกิดปฏิกิริยาเคมีเพื่อการทำกิจกรรมพื้นฐานที่สำคัญของร่างกาย
ได้แก่ การหายใจ การเคลื่อนไหว การกำจัดของเสีย การคิด การมองเห็น การได้ยิน การดมกลิ่น การลิ้มรสอาหาร และการทำทุกสิ่งตามกระบวนการธรรมชาติเพื่อให้ร่างกายดำรงชีวิตอยู่ได้
สารอาหารแบ่งออกเป็น 2 กลุ่มใหญ่ๆ คือ
สารอาหารหลักที่ร่างกายต้องการเป็นจำนวนมาก (Macronutrients) ได้แก่
- โปรตีน
- ไขมัน
- คาร์โบไฮเดรต
- น้ำ
ซึ่งเป็นสารอาหารหลักที่ร่างกายต้องการในปริมาณมาก ตัวอย่าง ผู้ใหญ่ชาย/หญิง ต้องการปริมาณ โปรตีนวันละ 57 กรัม/วัน และจะแตกต่างกันตามช่วงวัยต่างๆ เช่น
- วัยรุ่นชายอายุ 9-12 ปี ต้องการโปรตีน 40 กรัม/วัน
- วัยรุ่นชายอายุ 13-15 ปี ต้องการโปรตีน 58 กรัม/วัน
- วัยรุ่นชายอายุ 16-18 ปี ต้องการโปรตีน 63 กรัม/วัน
เนื่องจากวัยรุ่นมีกิจกรรมที่ต้องทำมากกว่า วัยผู้ใหญ่ และร่างกายกำลังเจริญเติบโต ดังนั้น จึงต้องการโปรตีนมากกว่าผู้ใหญ่ (ข้อมูลจาก : คำแนะนำของปริมาณสารอาหารที่คนไทยควรได้รับต่อวัน ปี 2546 โดยกองโภชนาการ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข-รายละเอียดใน บทที่ 4)
สารอาหารจำเป็น (ที่ร่างกายต้องการจำนวนน้อย) Micronutrients ได้แก่
วิตามิน และเกลือแร่ โดยร่างกายมีความต้องการสารอาหารในกลุ่มนี้น้อยมาก เช่น จากค่าสารอาหารที่แนะนำให้บริโภคประจำวัน (Thai Recommended Daily Intakes- Thai RDI)
ได้แนะนำปริมาณวิตามิน C สำหรับคนไทยอายุตั้งแต่ 6 ปีขึ้นไป วันละ 60 มิลลิกรัมส่วนวิตามิน บี 12 และโฟเลท ร่างกายมีความต้องการในปริมาณที่น้อยมากๆ โดยคิดเป็นหน่อวยไมโครกรัม (มคก.)
สารอาหารที่จำเป็นต่อร่างกายตามหลักโภชนาการ คือ สิ่งหนึ่งที่มีความพิเศษมากๆ กล่าวคือ
– ร่างกายไม่สามารถผลิตขึ้นเองได้ จำเป็นต้องได้รับจากอาหารหรืออาหารเสริม .
– ทำให้เกิดโรคที่เกี่ยวข้องกับการขาดสารอาหารชนิดนั้นๆ เช่น คนที่ร่างกายขาดวิตามินซี จะเป็นโรคเลือดออกตามไรฟัน เช่นเดียวกัน การได้รับสารอาหารชนิดนั้นๆ อย่างเพียงพอ ก็จะป้องกันโรคขาดสารอาหารชนิดดังกล่าวได้
– ไม่ใช่สารอาหารทุกอย่างจะจำเป็นสำหรับสัตว์ทุกชนิด เช่น วิตามินซีเป็นสารอาหารที่จำเป็นสำหรับมนุษย์ แต่ไม่จำเป็นสำหรับสุนัข
เพราะร่างกายของสุนัขสามารถผลิตวิตามินซีได้เอง โดยสารอาหารที่จำเป็นสำหรับมนุษย์นั้น ได้แก่ วิตามิน เกลือแร่ กรดอะมิโน และกรดไขมัน
ภาวะทางโภชนาการ เป็นวลีที่ใช้กล่าวถึงสภาวะซึ่งเกี่ยวข้องกับการกินอาหาร เช่น คนที่ไม่ได้รับสารอาหารหรือแคลอรี่ตามที่ร่างกายต้องการอย่างเต็มที่จะถูกเรียกว่า “มีภาวะทุพโภชนาการ” ซึ่งหมายถึง ภาวะทางโภชนาการของคนๆ นั้นไม่ดี ซึ่งอาจเกิดจาก
ร่างกายได้รับสารอาหารไม่เพียงพอ โดยอาจเกิดจากการขาดแคลนอาหาร หรือการตั้งใจอดอาหาร เนื่องจากรูปแบบการกินที่ผิดปกติ
หรือเพราะมีบางสิ่งบางอย่างในชีวิตมารบกวนจนทำให้ไม่รู้สึกอยากอาหาร เช่น คนชราอาจมีความเสี่ยงต่อภาวะทุพโภชนาการเนื่องจากไม่มีฟัน หรืออาจเป็นเพราะต้องใช้ชีวิตตัวคนเดียว และลืมกินอาหาร
– ร่างกายได้รับสารอาหารเพียงพอ แต่ยังขาดสารอาหารบางอย่างที่จำเป็น เช่น วิตามินซี
– ความผิดปกติของกระบวนการเผาพลาญอาหารของร่างกาย ซึ่งทำให้ร่างกายไม่สามารถดูดซึมสารอาหารไปใช้งานได้อย่างเต็มที่
– มีการใช้ยาบางอย่างซึ่งทำให้ร่างกายไม่สามารถได้รับประโยชน์จากสารอาหาร เช่น คนที่ดื่มเหล้าจนติดเป็นนิสัย ร่างกายมักขาดสารอาหาร เนื่องจากแอลกอฮอล์ไปมีผลทำให้ความอยากอาหารลดลง และไปรบกวนกระบวนการเผาพลาญอาหารของร่างกาย
โดยแพทย์จะมีหลากหลายวิธีที่สามารถประเมินภาวะโภชนาการของคุณได้ เช่น
– ตรวจเช็คประวัติทางการแพทย์ เพื่อดูว่าคุณมีปัญหาหรืออุปสรรคใดๆ (เช่น การใส่ฟันปลอม) ซึ่งทำให้กินอาหารบางชนิดได้ลำบาก
หรือมีโรคที่ทำให้ร่างกายไม่สามารถดูดซึมสารอาหารจากกระบวนการเผาพลาญอาหารของร่างกายหรือไม่
.
– ตรวจร่างกาย เพื่อดูว่ามีสัญญาณเตือนของอาการขาดสารอาหารหรือไม่ เช่น เส้นผม และดวงตาแห้ง ขาดน้ำหล่อเลี้ยง (อาการของโรคขาดวิตามิน)
ลักษณะท่าทางโค้งงอ (อาการของโรคขาดแคลเซียม) หรือผอมมากๆ (ได้รับอาหารไม่เพียงพอ หรือมีโรคภัยไข้เจ็บ)
.
– ตรวจเลือดและปัสสาวะ ซึ่งทำให้ทราบสัญญาณเตือนของการขาดสารอาหารได้ แต่เนิ่นๆ เช่น เลือดจาง เนื่องจากเซลล์เม็ดเลือดแดงขาดธาตุเหล็ก
Cr. คู่มือโภชนาการเพื่อสุขภาพที่ดีขึ้น