ยากับความอยากกินอาหาร
ไม่ใช่ว่าอาหารและยาทุกชนิดที่ทำปฏิกิริยากันจะเกิดผลเสีย บางครั้งยาออกฤทธิ์ได้ดีขึ้นหรือเลวลง จนก่อให้เกิดผลกระทบข้างเคียง เมื่อกินหลังอาหาร เช่น
แอสไพริน คุณจะไม่ค่อยปวดท้อง ถ้ากินยาแอสไพรินร่วมกับอาหาร เพราะกรดในกระเพาะอาหารจะถูกหลั่งออกมา ทำให้ดูดซึมยาได้ดีขึ้นปฏิกิริยาที่เกิดขึ้นไม่ใช่เป็นเพียงปฏิกิริยาจากยาเท่านั้น ที่ทำให้ร่างกายไม่ได้รับสารอาหาร ยาบางอย่าง มีผลกระทบข้างเคียงโดยลดคุณค่าของอาหารลง เช่น ยาอาจทำให้
- ลดความอยากอาหารลง เช่น ยาแอมเฟตามีน และยาที่มีคุณสมบัติคล้ายแอมเฟตามีน เช่น ยาลดความอ้วน
.
- .ทำให้อาหารมีกลิ่นและรสชาติไม่อร่อยลิ้น เช่น ยาต้านอาการซึมเศร้า ซึ่งจะทิ้งรสชาติแปลกๆ ไว้ในปากคุณ
. - ทำให้คลื่นไส้ อาเจียน ท้องร่วง จนคุณไม่สามารถกินได้ และร่างกายไม่ได้รับสารอาหารที่กินเข้าไป เช่น ยาที่ใช้รักษาโรคมะเร็ง
. - ระคายเคืองเยื่อบุกระเพาะอาหาร ทำให้ร่างกายดูดซึมสารอาหารได้ยาก เช่น ยาต้านเนื้องอก cyclophohpamide
ข่าวดีก็คือ วิทยาการสมัยใหม่ทำให้ยาบางอย่าง (เช่น ยาต้านมะเร็ง) ไม่ค่อยก่อให้เกิดอาการคลื่นไส้และอาเจียน
และข่าวดีที่สุดคือ ยาหลายอย่างทำให้เกิดอาการปวดท้องหรือระคายเคืองกระเพาะอาหารน้อยลง ถ้ากินพร้อมกับอาหาร เช่น การกินยาแอสไพรินร่วมกับยาแกัปวดอื่นๆ เช่น ibuprofen และดื่มน้ำตามมากๆ จะช่วยลดอาการระคายเคืองกระเพาะอาหารได้
Cr. คู่มือโภชนาการเพื่อสุขภาพที่ดีขึ้น