องค์ประกอบสำคัญ อาหารมังสวิรัติ หรือ เจ
องค์ประกอบสำคัญ
อาหารมังสวิรัติ หรือ เจ หรือชีวิตที่ปราศจากเนื้อ นมสัตว์ ไข่ และ ผลิตภัณฑ์ ใดๆ จากสัตว์
จะให้สารอาหารครบถ้วนในปริมาณมากพอเพียงต่อความต้องการของร่างกายได้เช่นกัน ถ้าผู้บริโภคได้รับจากสารอาหารจากแหล่งอาหารต่างๆ ให้ครบถ้วนดังต่อไปนี้
1.โปรตีน
ควรได้รับโปรตีนเสริมในรูปของ complementary protein ในคุณภาพ และปริมาณที่เหมาะสมจากถั่ว งา เห็ด สาหร่าย และธัญพืชที่ไม่ขัดสีเป็นสำคัญ
และควรได้โปรตีนหลักในรูปของ complete protein จากพืชบางชนิด เช่น ถั่วเหลือง สาหร่าย
ธัญพืชไม่ได้ขัดสี เช่น ข้าวกล้อง เดือย ขนมปัง ข้าวสาลีที่ไม่ขัดสี (whole wheat) รากและหัวของพืชที่ไม่แปรรูปมากนัก จะให้คาร์โบไฮเดรตเชิงซ้อนซึ่งมีคุณค่าต่อสุขภาพ
นอกจากนี้ น้ำตาลจากผลไม้ คือ fructose ยังให้พลังงานได้ทันทีเมื่อผ่านเข้าวัฏจักร Krebs ไม่เหมือนน้ำตาลทราย (sucrose)ซึ่งต้องถูกย่อยเป็น glucose และfructose ก่อน
ผลไม้เปลือกแข็ง เช่น ถั่วลอสง มะม่วงหิมพานต์ และเมล็ดพืช เช่นถั่ว งา ทานตะวัน จะเป็นแแหล่งของไขมันที่มีคุณภาพ
เพราะมีชนิดและปริมาณกรดไขมันจำเป็นพอเหมาะ ช่วยป้องกันและรักษาโรคอ้วน โรคหัวใจ เส้นเลือดตีบตัน ความดันโลหิตสูง
พืชผักผลไม้ เป็นแหล่งสำคัญของไวตามินต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ถ้าเป็นของสดตามธรรมชาติยิ่งจะมีไวตามิน C สูง
สำหรับไวตามิน B 12 จะได้จากสาหร่าย เห็ด จุลินทรีย์ จากผลิตภัณฑ์อาหารหมัก และจากแบคทีเรียในลำไส้ (normal flora)
ได้จากพืชผักผลไม้ต่างๆ เป็นสำคัญ แร่ธาตุบางชนิด เช่น เซเลเนียมพบมากในอาหารสด พืชหลายชนิดจะมีเหล็กสูง เช่น ถั่วเหลือง ผักโขม และไวตามิน C จากผัก ผลไม้สด ช่วยการดูดซึมเหล็กเข้าสู่ร่างกายด้วย
สิ่งสำคัญที่สุดคือ อาหารทุกอย่างควรเป็นอาหารครบส่วนและเป็นธรรมชาติ วัสดุที่นำมาประกอบอาหารทุกอย่างควรมาจากเกษตรอินทรีย์ ไม่มีสารพิษ สารฆ่าแมลง สารเคมีปนเปื้อน
หากสงสัยว่ามีปนเปื้อน ก่อนนำไปบริโภค ต้องพยายามชะล้างด้วยน้ำสะอาดมากๆ หรือแช่ในสารละลายน้ำส้มสายชู หรือสารละลายโซเดียมไบคาร์บอเนต หรือลวกด้วยน้ำร้อนเพื่อขับล้างสารเคมีที่เคลือบติดอยู่ออกให้มากที่สุด
ควรมีสารอาหารให้ครบส่วน เป็นผลิตภัณฑ์ที่มาจากธรรมชาติโดยตรง ไม่ควรดัดแปลงรูปแบบต่างๆ หรือปรุงแต่งรสเกินความจำเป็น เพราะปกติพืชผักผลไม้สด จะมีรสดี สีสวยอยู่แล้ว และควรบริโภคพืชตามฤดูกาล หรือทางจีนว่าบริโภคให้ครบทุกสี ซึ่งก็จะได้สารต่างๆ เพียงพอสำหรับสุขภาพที่สมบูรณ์
การรับประทนอาหารมังสวิรัติและมีสารอาหารอย่างครบถ้วน จะทำให้ผู้บริโภคบรรเทาอาการและบำบัดโรคได้หลายอย่าง ดังตัวอย่างต่อไปนี้้
อาการ/โรค | เหตุผลและคำอธิบาย |
โรคท้องผูก/ทางเดินอาหาร | เส้นใยอาหารช่วยการขับถ่ายโดยกระตุ้นการบีบตัวของลำไส้ |
โรคอ้วน/น้ำหนักตัวมาก | เส้นใยอาหารป้องกันการดูดซึมไขมันในอาหารเพิ่มการขับน้ำดีและไขมัน |
โรคขาดสารอาหาร | การขาดอาหารจะดีขึ้น ถ้าผู้ป่วยได้รับถั่วชนิดต่างๆเพื่อเพิ่มโปรตีนและไวตามิน |
โรคไขข้ออักเสบ | การลดน้ำหนักตัว และสาร antioxidants ป้องกันและบรรเทาอาการไขข้อเสื่อม |
โรคเบาหวาน | เส้้นใยในรำข้าว ลดน้ำตาลในเลือดและเพิ่มระดับอินซูลิน ป้องกันการเกิดโรคเบาหวาน |
โรคไตพิการ | ลดความรุนแรง โดยงดเนื้อสัตว์ซึ่งเป็นสาเหตุของการเสริมโรค |
ความดันโลหิต | ลดลง เนื่องจากการลดไขมันในเลือดและการเพิ่มโพแทสเซียมจากผักใบ |
โรคหัวใจ | ลดไขมันและโคเลสเตอรอล ลดการตีบตันเส้นเลือดที่ไปเลี้ยงหัวใจ สารต่อต้านอนุมูลอิสระ และการขาดเหล็กเล็กน้อยเป็นผลดีต่อโรคหัวใจขาดเลือด โดยลดการทำลายของอนุมูลอิสระต่อกล้ามเนื้อหัวใจ |
โรคมะเร็ง | ป้องกันการเกิดและบรรเทาโรคมะเร็ง เพราะพืช ผักผลไม้ ธัญพืช มีสารต่อต้านการก่อมะเร็งหลายชนิด เช่น เส้นใยอาหารต่อต้านมะเร็งลำไส้ใหญ่ ; lignan และ isoflavones ลดความเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งเต้านม คนที่กินอาหารมังสวิรัติ มีอัตราการเสี่ยงต่อการเป็น hormone-dependent cancer ลดลงมีสารต่อต้านโรค และเสริมภูมิคุ้มกัน เช่น antioxidants, bioflavonoids, phytoestrogens, saponins |
ระบบภูมิคุ้มกันบกพร่อง | ลดความรุนแรงของโรคแพ้ เพราะมี polysaccharides เช่น β-glucan ซึ่งกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย |
อาการ/โรค | เหตุผลและคำอธิบาย |
การเบื่ออาหาร | การขาดสังกะสีทำให้ปุ่มรับรสบนลิ้นทำงานน้อยลง |
อาหารอ่อนเพลีย | การขาดสารอาหาร ไวตามินและเกลือแร่บางชนิด |
โรคขาดสารอาหาร | การขาดโปรตีน ผอม น้ำหนักตัวลด อ่อนเพลีย |
โรคเลือดจาง | การขาดธาตุเหล็ก และการขาดไวตามิน B 12 ซึ่งช่วยสร้างฮีโมโกลบิน |
ความดันโลหิต | ความดันโลหิตลดลง เนื่องจากได้รับโพแทสเซียมมาก |
อาหารเป็นพิษ | การปนเปื้อนของยาฆ่าแมลง สารเคมีตกค้างในผักผลไม้ที่ควบคุมไม่ได้ |
โรคนิ่วชนิดออกซาเลต | อาหารและผักพื้นบ้านหลายชนิดมีออกซาเลตสูงการขับออกซาเลตออกทางปัสสาวะอาจตกผลึกและทำให้ก้อนนิ่วขวางทางเดินปัสสาวะได้ |