การฉายรังสีอาหาร
การฉายรังสีเป็นเทคนิคอย่างหนึ่งที่ให้อาหารสัมผัสกับลำแสงอิเล็คตรอนหรือรังสีแกรมม่า ซึ่งมีพลังงานความร้อนสูงกว่ารังสีเอ็กซ์ที่แพทย์ใช้ในการฉายภาพดูอวัยวะภายในของผู้ป่วย
รังสีแกรมม่า หรือที่เรียกกันว่า “รังสีพีโก้” เป็นรังสีที่ทำให้มีการแตกตัวออกเป็นไอออนที่สามารถฆ่าเซลล์สิ่งมีชีวิต รวมทั้งฆ่าเชื้อโรคในอาหารและยืดอายุของอาหารให้นานออกไปได้
รังสีไม่ทำให้หน้าตาหรือรสชาติของอาหารเปลี่ยนไป ไม่ทำให้เนื้อหรือเส้นใยอาหารเปลี่ยนแปลง อีกทั้งยังไม่ทำให้อาหารเกิดกัมมันตรังสีอีกด้วย เพียงแต่จะไปเปลี่ยนโครงสร้างทางเคมีบางอย่างในอาหารและแตกโมเลกุล ให้เป็นชิ้นเพื่อสร้างสารใหม่ที่เรียกว่า radiolytic products
Radiolytic Products (RP) องค์การวิทยาศาสตร์หลายหน่วยงาน เช่น สถาบันเทคโนโลยีอาหาร ซึ่งประกอบด้วยสมาชิก 27,000 คน และ คณะกรรมการนานาชาติด้านอาหารฉายรังสี (รวมถึงตัวแทนจาก United Nations,The International Atomic Energy Agency และองค์การอนามัยโลก)
เชื่อว่ากัมมันตรังสีเป็นอาวุธที่ปลอดภัยและมีความสำคัญในการพิชิตอันตรายจากพิษของอาหาร ซึ่งมีสาเหตุมาจากจุลินทรีย์และสารปนเปื่อนอย่างปาราสิต
US.FDA ได้พิสูจน์และรับรองการใช้กัมมันตรังสีหลายชนิดมาตั้งแต่ปี ค.ศ.1963 นอกจากนี้ยังมีการนำกัมมันตรังสีไปใช้กับผลิตภัณฑ์อาหารมากกว่า 40 ชนิด ในมากกว่า 37 ประเทศทั่วโลก ผู้บริโภคจำนวนมากอาจคิดว่ารังสีเป็นอันตรายต่อสุขภาพ
แต่ปัจจุบันอาหารที่ผ่านการฉายรังสีนับว่ามีความปลอดภัยเพียงแต่จำเป็นต้องให้ความรู้แก่ประชาชนได้รับทราบ อาหารที่ผ่านการฉายรังสีทุกชนิดมีอยู่ทั่วไป เพียงแต่ว่ายังไม่มีการให้ข้อมูลที่มากพอ
บรรจุภัณฑ์ควรมีข้อความแสดงว่า “ถนอมอาหารด้วยรังสี” ยกเว้นอาหารที่มีส่วนผสมบางอย่างของกัมมันตรังสี (เช่น เครื่องเทศ) ไม่จำเป็นต้องมีข้อความระบุไว้ ยกตัวอย่างเช่น พิซซ่าแช่แข็งซึ่งแต่งรสชาติด้วยเครื่องเทศที่ผ่านการฉายรังสี เป็นต้น
Cr. คู่มือโภชนาการเพื่อสุขภาพที่ดีขึ้น