รวมความรู้ด้านสุขภาพ Health Knowledgeเรื่องเล่าสะกิดสุขภาพ Health Story

สรุปผลการวิจัย น้ำตาลฟรุตโตส – Fructose Research Highlights

nutri-fruc-111. ภาวะอ้วนลงพุง (Metabolic Syndrome)

2. โรคเบาหวาน (Diabetes)

3. ภาวะน้ำหนักเกิน (Body weight)

4. ระดับไขมันในกระแสเลือด (Plasma Lipids)

5. กรดยูริค / เกาต์

6. อื่นๆ


** หมายเหตุ
เอกสารนี้จะมีการอ้างถึงงานวิจัยของนักวิจัยหลายๆท่าน งานวิจัยใดที่มีผู้จัดทำมากกว่า 3 ท่านขึ้นไปจะเขียนเฉพาะชื่อนักวิจัยหลักและตามด้วย et al. ซึ่งแปลว่า “และคณะ”

อ่านผลวิจัย ด้านน้ำตาลฟรุตโตส เพิ่มเติมได้ที่ https://fructosefacts.org/research/


1. ภาวะอ้วนลงพุง / โรคหลอดเลือดหัวใจ

1.1 จากการศึกษาวิจัย พบว่า

การบริโภคเครื่องดื่มที่มีรสหวานในปริมาณปานกลาง

และเครื่องดื่มนั้นใช้น้ำตาลฟรุคโตสเป็นสารให้ความหวาน

ไม่ก่อให้เกิดปัญหากับระบบเผาผลาญของวัยรุ่น

โดยงานวิจัยชิ้นนี้ถูกตีพิมพ์ในวารสารงานวิจัย

The American Journal of Clinical Nutrition

nutri-fruc-1 drink-19202_1920

1.2 การบริโภคน้ำตาลฟรุคโตส 

ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับโรคไขมันพอกตับที่ไม่ได้เกิดจากการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอลล์

(Non-Alcoholic Fatty Liver Disease/ NAFLD)

โดยผลการศึกษานี้มาจากบททบทวนวรรณกรรม (review)

ที่ได้รับการตีพิมพ์โดยวารสารการวิจัย The American Journal of Clinical Health  

nutri-fruc-4 nutri-fruc-5 nutri-fruc-3

1.3 การบริโภคน้ำตาลฟรุคโตสในปริมาณสูง

ไม่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพเมื่อเทียบกับการบริโภคในปริมาณต่ำ

จากงานวิจัยพบว่าการบริโภคน้ำตาลฟรุคโตสในปริมาณสูงนั้น

ไม่ก่อให้เกิดภาวะโคเลสเทอรอลในเลือดสูงหรือความดันโลหิตสูง

1.4 นักวิจัยกล่าวว่า

น้ำตาลไม่ควรถูกกล่าวหาว่าเป็นสาเหตุหลักๆ ของโรคอ้วนและเบาหวาน

โดยนักวิจัย Kahn และ Sievenpiper ได้โต้แย้งว่า

การกล่าวหาว่าน้ำตาล โดยเฉพาะน้ำตาลฟรุคโตส

เป็นต้นเหตุของโรคอ้วนและเบาหวานเป็นสิ่งที่ผิด

1.5 จากการทดสอบ

พบว่าน้ำตาลฟรุคโตสไม่ได้เป็นสาเหตุของการระบาด

ที่เพิ่มมากขึ้นของโรคอ้วน

โดยข้อมูลนี้ได้รับการยืนยันจากการทดสอบของ

Van Buul et al. ว่าการระบาดที่เพิ่มมากขึ้นของโรคอ้วน

ในระดับนานาชาตินั้น

ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการบริโภคน้ำตาลฟรุคโตส

รวมถึงการบริโภคเครื่องดื่มที่มีน้ำตาลฟรุคโตสเป็นส่วนประกอบ

1.6 ผลการทดสอบของนักวิจัย

Chiu et al. พบว่าน้ำตาลฟรุคโตสนั้น

ไม่ได้เป็นสาเหตุของโรคไขมันพอกตับ

ที่ไม่ได้เกิดจากการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ (NAFLD)

1.7 ผลจากการทดสอบ

พบว่าการบริโภคน้ำตาลฟรุคโตส

ไม่ได้เป็นสาเหตุของปัญหาในระบบการเผาผลาญของร่างกาย

จากการศึกษาวิจัยของนักวิจัย Rippe ในปี 2013

พบว่าสาเหตุของโรคอ้วนละเบาหวานนั้น

เกิดจากการที่ร่างกายได้รับพลังงานเป็นจำนวนแคลอรี่มากเกินไป

ซึ่งงานวิจัยชิ้นนี้ได้รับการตีพิมพ์ในหมวด Advances in Nutrition

ซึ่งเป็นหมวดของงานวิจัยที่มุ่งเน้นศึกษาด้านสุขภาพและน้ำตาลฟรุคโตส

nutri-fruc-7 nutri-fruc-6

1.8 จากงานวิจัย

พบว่าน้ำตาลฟรุคโตสไม่ได้มีส่วนเกี่ยวข้องในโรคอ้วน

ที่ตอนนี้กำลังระบาดในประเทศสหรัฐอเมริกา

โดยข้อมูลดังกล่าวได้จากการศึกษาวิจัยจากองค์การอาหารและยาสหรัฐฯ

ภายใต้หัวข้อ “Food availability of glucose and fat, but not fructose, increased in the US between 1970-2009”

ซึ่งมุ่งศึกษาด้านการรับประทานอาหาร

และโภชนาการของประชาชนระหว่างปี 1970 ถึง 2009

โดยใช้ข้อมูลจากกระทรวงเกษตรของสหรัฐฯ (USDA)

1.9 จากงานวิจัย

พบว่าการบริโภคน้ำตาลฟรุคโตสในระดับปกติไม่ก่อให้เกิดอันตรายใดๆ

ซึ่งข้อมูลนี้ได้รับการยืนยันจากงานวิจัยของ Sievenpiper et al.

(ในการศึกษาหัวข้อ “น้ำตาลฟรุคโตส: ความจริงอยู่ที่ไหน?”)

ว่าน้ำตาลฟรุคโตสนั้น ไม่ได้ก่อให้เกิดการเพิ่มขึ้นของ

น้ำหนักตัว, ความดันโลหิต, กรดยูริค, และระดับฮอร์โมนอินซูลิน

นอกจากนี้น้ำตาลฟรุคโตสยังสามารถปรับปรุงการควบคุมดัชนีไกลซีมิคอีกด้วย

เมื่อน้ำตาลฟรุคโตสถูกบริโภคในระดับปกติ

1.10 ร่างกายของคนเรา

อาจมีการตอบสนองกับน้ำตาลฟรุคโตส

และอาจทำให้เกิดภาวะความดันโลหิตสูงได้

โดยข้อมูลนี้ได้รับจากนักวิจัย Madero et al.

แต่งานวิจัยไม่ได้กล่าวถึงการบริโภคน้ำเชื่อมข้าวโพด

ที่มีปริมาณ fructose สูงและน้ำตาลซูโครส

1.11 ผลกระทบของน้ำตาลฟรุคโตสต่อระดับความดันโลหิต

จากการศึกษาทดสอบและการวิเคราะห์ด้วยการควบคุมปริมาณการบริโภคน้ำตาล

โดยนักวิจัย Ha et al. พบว่าความดันโลหิตสูงนั้น

เป็นปัจจัยเสี่ยงหลักต่อโรคหลอดเลือดสมอง, โรคหลอดเลือดหัวใจ, โรคไต,

และสามารถทำให้ถึงแก่ความตายได้

ในระดับนานาชาตินั้น ได้มีการจัดสรรงบประมาณทางด้านสุขภาพจำนวน 10%

เพื่อจัดการกับภาวะความดันโลหิตสูงในประชากรของประเทศที่พัฒนาแล้ว

และได้มีการคาดว่าภายในปี 2025

จำนวนผู้ที่มีภาวะความดันโลหิตสูงจะเพิ่มขึ้นเป็น 1.56 พันล้านคน

nutri-fruc-19 nutri-fruc-20

1.12 การศึกษาการบริโภคน้ำตาลฟรุคโตสต่อปฏิกิริยา Glycation กับระดับไตรกลีเซอร์ไรด์ในกระแสเลือด

และน้ำหนักตัวที่เพิ่มขึ้น ศึกษาโดยนักวิจัย Livesey และ Taylor

โดยใช้น้ำตาลฟรุคโตส กับอาหารทั่วไปให้บุคคลทั่วไปที่มีสุขภาพดี

และใช้ในการทดลองทางคลีนิคสำหรับผู้ป่วยที่มีภาวะเบาหวาน

การบริโภคน้ำตาลฟรุคโตส 50 กรัมต่อวัน เป็นระยะเวลา 2 ปี

ไม่ส่งผลใดๆ ต่อระดับไตรกลีเซอไรด์ในกระแสเลือดในช่วงอดอาหารของคนสุขภาพดี

และการบริโภคน้ำตาลฟรุตโตส 50 กรัมต่อวัน

ถือเป็นขนาดการบริโภคที่ยอมรับได้ในผู้ป่วยเบาหวานด้วยเช่นกัน

1.13 จากงานวิจัยเรื่องน้ำตาลฟรุคโตสที่ได้รับจากอาหาร

และปัญหาต่อระบบเผาผลาญของร่างกายและโรคเบาหวาน

ศึกษาโดยนักวิจัย Bantle พบว่า

เมื่อน้ำตาลฟรุคโตส ถูกบริโภคเข้าไปแล้ว

จะถูกดูดซึมเข้าสู่ร่างกาย ช้ากว่าน้ำตาลกลูโคส

และพบว่าการรับประทานน้ำตาลฟรุคโตสและกลูโคสคู่กันนั้น

ทำให้อัตราการดูดซึมน้ำตาลเข้าสู่กระแสเลือดเร็วขึ้น

ส่วนการบริโภคน้ำตาลฟรุคโตสเดี่ยวๆ นั้น

ทำให้อัตราการดูดซึมแตกต่างกันไปในแต่ละคน

และพบว่ามีบางรายที่ไม่สามารถย่อยและดูดซึมน้ำตาสกลูโคสได้

เมื่อบริโภคในปริมาณ 30 ถึง 40 กรัม


2. โรคเบาหวาน 

2.1 น้ำตาลฟรุคโตสเป็นสาเหตุหนึ่งของโรคเบาหวานประเภทที่สองจริงหรือ?  

(โรคเบาหวานประเภทที่สองเกิดจากภาวะที่ร่างกายไม่สามารถผลิตฮอร์โมนอินซูลินได้ไม่เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย) 

จากการศึกษาของ Dr. Geoffrey Livesey

ที่ได้รับการตีพิมพ์ในหัวข้อ Nutrition Bulletin เดือนกันยายนปี 2013

ได้เปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างน้ำตาลฟรุคโตสและโรคเบาหวานประเภทที่สอง

และในการศึกษาทดสอบนั้น Dr. Livesey

ได้กล่าวถึงประเด็นที่มักถูกถามเกี่ยวกับความสัมพันธ์

ระหว่างการบริโภคน้ำตาลฟรุคโตสและการดูดซึมไขมันที่มากขึ้นของตับ

nutri-fruc-22 nutri-fruc-21

3. ภาวะน้ำหนักเกิน 

3.1 จากการศึกษาวิจัยระหว่างการบริโภคน้ำตาลฟรุคโตสและการลดน้ำหนัก

ได้พบว่า “การบริโภคน้ำตาลฟรุคโตสไม่ได้เป็นสาเหตุของภาวะน้ำหนักเกิน”

เมื่อน้ำตาลฟรุคโตสถูกใช้แทนที่สารอาหารประเภทคาร์โบไฮเดรต

เนื่องจากน้ำตาลฟรุคโตสนั้น ถูกย่อยและดูดซึมแตกต่างจากน้ำตาลกลูโคส

ด้วยเหตุนี้จึงทำให้บางคนสงสัยว่า

น้ำตาลฟรุคโตสเป็นสาเหตุของภาวะน้ำหนักเกิน

3.2 จากการศึกษาวิจัยอย่างยาวนาน

พบว่าการบริโภคน้ำตาลฟรุคโตสไม่ได้ทำให้เกิดการบริโภคอาหารเพิ่มขึ้น (หรือเจริญอาหารมากขึ้น)

และส่งผลกระทบต่อน้ำหนักตัว

จากการศึกษาทดสอบอย่างเข้มข้นก็ได้ข้อสรุปว่าน้ำตาลฟรุคโตสนั้น

ไม่ได้ก่อให้เกิดการรับประทานอาหารที่มากขึ้น (หรือการเจริญอาหาร)

ไม่ส่งผลกระทบต่อน้ำหนักตัว และไม่ทำให้ระดับไตรกลีเซอรไรด์ในกระแสเลือดของบุคคลที่มีภาวะน้ำหนักเกินหรือเบาหวานสูงขึ้น

ซึ่งข้อมูลดังกล่าวนี้มาจากบทรีวิวซึ่งถูกตีพิมพ์ในหัวข้อ Critical Reviews

ในวารสารการวิจัยทางด้านวิทยาศาสตร์การอาหารและโภชนาการ

ก็ได้มีการวิเคราะห์ข้อมูลเกี่ยวกับการบริโภคน้ำตาลฟรุคโตสในระดับปกติและความเปลี่ยนแปลงของระดับไขมันในเลือด

หรือการดูดซึมน้ำตาลกลูโคสหรือปัจจัยเสี่ยงต่อภาวะน้ำหนักเกินในผู้ที่มีภาวะอ้วน

nutri-fruc-10 nutri-fruc-9

3.3 ผลของงานวิจัยมากมาย

ได้ยืนยันถึงผลดีของการบริโภคน้ำตาลฟรุคโตส

ผลของการศึกษาวิจัยใหม่ๆในปัจจุบัน

ได้ยืนยันถึงประโยชน์ของน้ำตาลฟรุคโตสในอาหาร ซึ่งค่อนข้างขัดแย้งกับผลของงานวิจัยเดิมๆ

ซึ่งกล่าวตรงกันข้าม และเราก็พบว่าน้ำตาลฟรุคโตสนั้นเป็นน้ำตาลที่พบได้ตามธรรมชาติในผักและผลไม้และน้ำผึ้ง


4. ระดับไขมันในกระแสเลือด 

4.1 จากการศึกษาวิจัยพบว่า

ไม่มีความสัมพันธ์ระหว่างการบริโภคน้ำตาลฟรุคโตสและการเพิ่มสูงขึ้นของระดับไขมันไตรกลีเซอไรด์ในเลือด

จากงานวิจัยใหม่ๆ พบว่าการหยุดบริโภคน้ำตาลฟรุคโตสและหันไปบริโภคคาร์โบไฮเดรตชนิดอื่นๆ แทนนั้น

ไม่ได้ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงใดๆ เลยของระดับไขมันไตรกลีเซอไรด์ในกระแสเลือด

นอกจากนี้ยังมีการค้นพบอีกด้วยว่า

มีการทดแทนคาร์โบไฮเดรตด้วยน้ำตาลฟรุคโตสนั้น

ทำให้ปริมาณพลังงานในอาหารนั้นเท่าเดิมและไม่ทำให้ระดับไขมันไตรกลีเซอรไรด์ในเลือดหลังทานอาหารเพิ่มขึ้น

4.2 จากการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับควาสัมพันธ์

ของการรับประทานน้ำตาลฟรุคโตสที่มีในอาหารในระดับปกติกับภาวะไขมันในเลือดสูงและความอ้วน

ในบุคคลที่มีสุขภาพดีและน้ำหนักปกติ

วิจัยโดยนักวิจัย Dolan et al.

พบว่าคาร์โบไฮเดรตเป็นสิ่งจำเป็นในอาหารเพราะเป็นสารอาหารที่ให้พลังงานโดยเฉพาะการให้พลังงานแก่สมอง

น้ำตาลจัดว่าเป็นสารให้ความหวานที่ให้พลังงาน และโดยทั่วไปแล้วน้ำตาลที่มนุษย์บริโภคเป็นประจำคือน้ำตาลกลูโคส, ฟรุคโตส, น้ำตาลซูโครส

 nutri-fruc-12 nutri-fruc-13

4.3 น้ำตาลฟรุคโตสและกลูโคสในอาหาร

ส่งผลกระทบต่อระดับไขมันในเลือดและความสมดุลย์ของระดับกลูโคสในเลือดแตกต่างกัน

ซึ่งงานวิจัยนี้ศึกษาโดยนักวิจัย Schaefer et al.

โดยผลของงานวิจัยพบว่าน้ำตาลกลูโคสนั้นถูกย่อยโดยตับได้เร็วกว่า

ขณะที่น้ำตาลฟรุคโตสนั้นไม่ถูกย่อย

ทำให้เกิดความแตกต่างระหว่างการดูดซึมของน้ำตาลทั้ง 2 ชนิด

ในการศึกษาระยะสั้นพบว่าน้ำตาลฟรุคโตสนั้น

ทำให้ระดับไขมันไตรกลีเซอไรด์ในเลือดหลังรับประทานอาหารเพิ่มขึ้นและมีผลเพียงเล็กน้อยต่อระดับความเข้มข้นของกลูโคสในกระแสเลือด

ขณะที่น้ำตาลกลูโคสให้ผลตรงกันข้าม


5. กรดยูริค / เกาต์ 

5.1 มีการศึกษาวิจัยโดยนักวิจัย

Wang  et al. เกี่ยวกับผลของการบริโภคน้ำตาลฟรุคโตส

ที่มีต่อระดับกรดยูริคในกระแสเลือด ซึ่งจากการศึกษาวิจัยนั้นได้มีการระบุว่า

ภาวะอ้วนลงพุงนั้นเป็นปัจจัยเสี่ยงที่นำมาซึ่งโรคเบาหวานและโรคหลอดเลือดหัวใจ

และโรคนี้กำลังพบได้มากถึง ¼ ของประชากรชาวอเมริกันและแคนาดาทั้งหมด

nutri-fruc-14

5.2 จากการศึกษาวิจัยโดย

Sun et al. พบว่าไม่มีความสัมพันธ์กันระหว่าง

การบริโภคน้ำตาลฟรุคโตสและกรดยูริคในกระแสเลือด

ที่เพิ่มขึ้นในประชากรที่เป็นผู้ใหญ่

5.3 จากการศึกษาวิจัย

พบว่าการบริโภคน้ำตาลฟรุคโตสในระดับปกตินั้น

ไม่ส่งผลกระทบต่อระดับความดันโลหิตหรือระดับของกรดยูริค

โดยมีการศึกษากับประชากรผู้ใหญ่ 267 คน เป็นระยะเวลา 10 สัปดาห์

และปริมาณของน้ำตาลฟรุคโตสที่ใช้ในการวิจัยนั้น

เป็นปริมาณเฉลี่ยที่ชาวอเมริกันบริโภคกันต่อวัน


6. สุขภาพด้านอื่นๆ  

6.1 ไม่มีการยืนยันถึงภาวะการอักเสบ

เมื่อมีการบริโภคน้ำตาลฟรุคโตสในปริมาณสูงในระยะเวลาสั้นๆ

โดยงานวิจัยดังกล่าวเป็นของ Sibernagel et al.

และได้ทำการศึกษากับประชากรผู้ใหญ่จำนวน 20 คน

6.2 น้ำตาลฟรุคโตสช่วยให้สมองทำงานได้ดีขึ้น

และทำให้การแก้ปัญหาต่างๆดำเนินไปได้ด้วยดี

โดยงานวิจัยนี้ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารงานวิจัย Journal of Psychopharmacology

ซึ่งยืนยันว่าการบริโภคน้ำตาลฟรุคโตสนั้น

ส่งผลดีต่อระดับการรับรู้ของสมองได้ดีเท่าๆ กับการบริโภคกลูโคส

แต่การบริโภคน้ำตาลฟรุคโตสนั้นไม่ทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงขึ้นเหมือนกลูโคส

nutri-fruc-17 nutri-fruc-15

6.3 นักวิจัยยืนยันว่ายังไม่มีความจำเป็น

ต้องมีมาตรการใดๆในการจำกัดการบริโภคน้ำตาลฟรุคโตส

จากงานวิจัยที่ได้รับการตีพิมพ์ในเดือนกรกฎาคมปี 2012

โดยนักวิจัย Tappy และ Mittendorfer

ซึ่งมีการยืนยันว่ายังไม่มีความจำเป็นต้องออกมาตรการจำกัดการบริโภคน้ำตาลฟรุคโคส

เพราะยังไม่มีหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ยืนยันชัดเจนว่า

น้ำตาลฟรุคโตสเป็นสาเหตุของภาวะโรคอ้วนลงพุงเมื่อมีการบริโภคตามปกติ

6.4 น้ำตาลฟรุคโตสช่วยให้ร่างกายคืนสภาพได้เร็ว

หลังจากสูญเสียน้ำจากความร้อนและการออกกำลังกาย

รายงานการวิจัยของ Kamijo et al.

ได้มีการศึกษาเกี่ยวกับผลของคาร์โบไฮเดรตที่อาจทำให้ร่างกายกักเก็บน้ำได้ดีขึ้นหลังจากการออกกำลังกายและความร้อน และส่งผลดีต่อภาวะขาดน้ำของร่างกาย

โดยให้ผู้เข้าร่วมวิจัยซึ่งเป็นผู้ใหญ่จำนวน 7 คน

ดื่มเครื่องดื่มที่มีคาร์โบไฮเดรตในปริมาณสูง ต่ำ และไม่มีคาร์โบไฮเดรตเลย

โดยคาร์โบไฮเดรตในเครื่องดื่มนั้นเกิดจากการผสมน้ำตาลฟรุคโตสและกลูโคสลงไป

6.5 รายงานการวิจัยที่ศึกษาโดย

Latulippe และ Skoog ที่ศึกษาเกี่ยวกับการย่อยและดูดซึมน้ำตาลฟรุคโตสเพียงอย่างเดียวโดยไม่มีการบริโภคน้ำตาลกลูโคสร่วมด้วย

พบว่าเมื่อไม่มีการบริโภคน้ำตาลกลูโคสร่วมด้วยนั้น

ทำให้น้ำตาลฟรุคโตสไม่สามารถถูกย่อยได้

โดยสาเหตุหลักๆ เกิดจากสาเหตุ 2 สาเหตุ คือ

1) สาเหตุทางพันธุกรรม

2) อาการผิดปกติในการดูดซึมน้ำตาลฟรุคโตส (หรือภาวะ Fructose Malabsorption)

6.6 ผลกระทบต่อสุขภาพ

จากการศึกษาวิจัยโดย Rizkalla พบว่า

น้ำตาลฟรุคโตสเป็นน้ำตาลธรรมชาติที่พบได้ในผลไม้และถูกพบมากในอาหารตะวันตก เมื่อใช้ในปริมาณที่เท่ากัน

น้ำตาลฟรุคโตสให้ความหวานมากกว่าน้ำตาลกลูโคสและซูโครส และถูกใช้มากในฐานะสารให้ความหวานในเชิงอุตสาหกรรม

nutri-fruc-18 nutri-fruc-16

6.7 การศึกษาวิจัยเกี่ยวกับการย่อยและดูดซึมน้ำตาลฟรุคโตส

และการตอบสนองของร่างกายที่เกี่ยวกับขนาดในการบริโภค

วิจัยโดยนักวิจัย Livesey มีการค้นพบถึงข้อดีและข้อเสียของการบริโภคน้ำตาลฟรุคโตส

และได้มีการยืนยันว่าการบริโภคน้ำตาลฟรุคโตสนั้นมีอันตรายน้อยมาก

6.8 การศึกษาวิจัยเกี่ยวกับการเข้าใจผิด

เกี่ยวกับน้ำเชื่อมข้าวโพด (High-Fructose Corn Syrup) 

มีคำถามที่ว่าการบริโภคน้ำเชื่อมข้าวโพด (High-Fructose Corn Syrup) นั้น

ทำให้เกิดโรคอ้วนและปฏิกริยาทางเคมีที่ก่อให้เกิดอันตรายต่อร่างกายใช่หรือไม่

การศึกษาวิจัยนี้ศึกษาโดยนักวิจัย White

เนื่องจากโรคอ้วนกำลังกลายเป็นปัญหาสำคัญในประเทศสหรัฐอเมริกาและทั่วโลก

จากข้อมูลพบว่ามีประชากรอเมริกันราว 33% หรือมากกว่ามีปัญหาโรคอ้วน

6.9 ผลกระทบของวิทยาศาสตร์

และสื่อที่มีต่อการบริโภคน้ำตาลฟรุคโตส

ศึกษาวิจัยโดย Borra และ Bouchoux

จากเอกสาร The Dietary Guidelines for Americans

ได้รวบรวมข้อมูลทางด้านวิทยาศาสตร์

การอาหารและข้อเสนอแนะต่างๆไว้มากมาย รวมถึงน้ำตาลด้วย

จากข้อมูลพบว่าได้มีคำแนะนำให้บริโภคน้ำตาลแต่น้อย

เนื่องจากการบริโภคน้ำตาลในปริมาณมากอาจทำให้เกิดฟันผุได้

6.10 มุมมองของวิทยาศาสตร์ที่มีต่อวัตถุให้ความหวานในอาหาร

ที่มีส่วนประกอบของฟรุคโตส

ยังมีประเด็นที่ต้องสรุปและแก้ปัญหา

โดยข้อมูลดังกล่าวมาจากการศึกษาวิจัยที่ศึกษาโดย

สถาบัน International Life Science Institute North America และกระทรวงการเกษตรของสหรัฐฯ

ซึ่งโครงการวิจัยนี้ได้รับการสนับสนุนทางการเงิน

เพื่อใช้ในการวิจัยทางด้านวัตถุให้ความหวานในอาหารที่มีส่วนประกอบของฟรุคโตส
อ่านผลวิจัย ด้านน้ำตาลฟรุตโตส เพิ่มเติมได้ที่ https://fructosefacts.org/research/