ปฎิกิริยาระหว่างอาหารกับยา
อาหารทำหน้าที่หล่อเลี้ยงร่างกาย ยาช่วยเยียวยาโรคภัยไข้เจ็บ ทั้งอาหารและยาทำงานร่วมกันอย่างสอดคล้องสมบูรณ์แบบ เพื่อปกปักษ์รักษาร่างกาย แต่บางครั้งอาหารและยาก็เกิดส่งผลต่อกัน ยาทำให้สารอาหารถูกดูดซึมน้อยลงได้ และอาหารก็ทำให้ยาออกฤทธิ์ในการรักษาน้อยลงได้เช่นกัน
เมื่อกินอาหาร อาหารจะเคลื่อนตัวจากปากลงไปยังกระเพาะอาหาร ไปยังลำไส้เล็กซึ่งเป็นบริเวณที่สารอาหารถูกดูดซึมเข้าสู่กระแสเลือด และกระจายไปทั่วร่างกาย
การกินยาก็เช่นเดียวกัน ยาจะเคลื่อนจากปากลงไปยังกระเพาะอาหาร ละลายและถูกดูดซึมที่ลำไส้เล็กแต่ปัญหาก็คือ เมื่ออาหารหรือยาทำปฏิกิริยากันจนอาจทำให้ร่างกายไม่สามารถดูดซึมสารอาหารหรือยาไปใช้ได้ ซึ่งปฏิกิริยาที่เกิดขึ้น คือ
- อาหารหรือยาบางอย่างไปเปลี่ยนกรดในกระเพาะอาหาร จนร่างกายไม่สามารถ ดูดซึมสารอาหารได้อย่างมีประสิทธิภาพ เช่น ร่างกายจะดูดซึมธาตุเหล็กได้ดีที่สุด เมื่อกระเพาะอาหารเป็นกรด การกินยาแอนต้าชิดจะทำให้กรดในกระเพาะอาหารลดลง ซึ่งทําให้การดูดซึมธาตุเหล็กลดลงด้วย
. - อาหารหรือยาบางอย่างทำให้อัตราการเคลื่อนตัวของอาหารไปยังกระเพาะอาหาร เปลี่ยนไป
นั่นหมายความว่า ร่างกายจะดูดซึมสารอาหารหรือยาได้มากขึ้น (หรือน้อยลง) เช่น การกินลูกพรุน (อาหารที่มีฤทธิ์เป็นยาระบาย) หรือการกินยาระบาย เป็นการเร่งให้อาหารหรือยามีการเคลื่อนตัวเร็วขึ้น ทำให้ร่างกายมีเวลาดูดซึมยาหรือสารอาหารน้อยลง
.
- อาหารหรือยาบางอย่างก่อตัวเป็นสารประกอบที่ไม่สามารถละลายน้ำได้ ทำให้ร่างกายไม่สามารถแตกพันธะของสารนั้น จึงดูดซึมยาและสารอาหารได้น้อยลง
ตัวอย่างที่ดี ที่สุดคือ แคลเซียม (ในผลิตภัณฑ์นม) ไปจับกับยาปฏิชีวนะเตตร้าไซคลิน ทำให้ร่างกายไม่สามารถดูดซึมสารอาหารและยาได้
.
- ยาและสารอาหารบางอย่างมีโครงสร้างทางเคมีเหมือนกัน การกินยาและอาหารพร้อมกันจะทำให้ร่างกายดูดซึมสารอาหารแทนที่จะเป็นยา ตัวอย่างที่ดีคือ ยาวาฟาริน (ยาป้องกันเลือดจับตัวเป็นลิ่ม) และวิตามินเค (สารอาหารที่ทำให้เลือดแข็งตัว) การกินผักใบเขียวที่อุดมด้วยวิตามินเคมากๆ จะต่อต้านผลของการกินยาวาฟาริน
- อาหารบางอย่างประกอบด้วยสารเคมีที่ทำให้การออกฤทธิ์ของยาบางชนิดลดน้อยลงหรือรุนแรงขึ้น เช่น คาเฟอีนในกาแฟ ชา น้ำอัดลม ซึ่งไปลดผลข้างเคียงของอาการหอบหืดและยาต้านอาการซึมเศร้า
ในขณะเดียวกันก็เพิ่มอาการทางประสาท นอนไม่หลับ มือไม้สั่น ซึ่งเป็นอาการที่เกิดขึ้นได้ทั่วไปเมื่อใช้ร่วมกับยาลดความอ้วน และยาแกัหวัด ซึ่งมีสารคาเฟอีนและยาลดน้ำมูกเป็นส่วนประกอบ
Cr. คู่มือโภชนาการเพื่อสุขภาพที่ดีขึ้น