รวมความรู้ด้านสุขภาพ Health Knowledgeสารอาหารบำบัดโรค Nutrition

สารบำรุงตาจากผักผลไม้หลากสี

“สารบำรุงตา จากผัก ผลไม้ หลากสี”

เคล็ดลับป้องกันไว้ก่อนเสื่อม

ทำไมต้องบำรุงดูแลสุขภาพดวงตา?

ดวงตา ทำหน้าที่เป็นอวัยวะรับความรู้สึกด้านการมองเห็น
เป็น 1 ใน 5 อวัยวะรับความรู้สึกของมนุษย์

โดยเฉลี่ย ชีวิตคนเราได้รับความสุข เพลิดเพลินจากการมองเห็นมากที่สุด  เช่น การดูหนัง เล่นเกม การใช้มือถือ ดูภาพ ดู Youtube การอ่านข่าวสาร และกิจกรรมสำคัญต่าง ๆ ในชีวิต เช่น การเรียน การทำงาน การเที่ยวพักผ่อน ถ้าดวงตามองไม่เห็น ความสุขของชีวิตของคนเราจะลดหายไปเกินครึ่ง

องค์การอนามัยโลกรายงานว่า

ประชากรโลก มีความผิดปกติทางสายตา 285 ล้านคน ตาบอด 391 ล้านคน และ 82% ของผู้ที่ตาบอด มีอายุ 50 ปีขึ้นไป ที่น่าเสียดายคือ 80% ของความผิดปกติทางสายตาสามารถป้องกันและรักษาได้

หากประชาชนรู้วิธีการป้องกันความเสื่อมของตา และกินสารอาหารที่สามารถชะลอการเสื่อมของดวงตาให้มากขึ้น ก็มีความเป็นไปได้ ที่จำนวนผู้ป่วยหรือพิการทางสายตาจะลดลง

โรคตายอดฮิตของคนเรา มีอะไรบ้าง?

เราจะมีวิธีดูแลบำรุงดวงตาได้อย่างไร?

พืช ผัก ผลไม้ ที่มีสีหลายๆ ชนิด มีสารต้านอนุมูลอิสระ ชะลอความเสื่อมสภาพและบำรุงสุขภาพตาได้ ได้แก่

1. แซนโทฟิล (Xanthophyll) คือแคโรทีนอยด์ ได้แก่ Lutein และ Zeaxanthin

เม็ดสีทั้งสองชนิดพบในจอตาและมาคูลา ช่วยกรองแสงสีฟ้าและยังเป็นสารต้านออกซิเดชั่น ช่วยกำจัดอนุมูลอิสระ จากการทดลองในผู้ป่วย จอประสาทตาเสื่อม หรือ AMD

พบว่า เมื่อให้สารทั้งสองชนิดในรูปอาหารเสริม สามารถเพิ่มระดับความเข้มข้นของเม็ดสีทั้งสองในพลาสมาและในมาคูลา

สรุปได้ว่า Lutein และ Zeaxanthin ช่วยป้องกันความเสื่อมของจอตาได้

แหล่งธรรมชาติของแซนโทฟิล พบได้ในดอกดาวเรือง (Marigold) ผักใบเขียว เช่น ผักคะน้า ผักปวยเล้ง (Spinach)

ในไข่แดงแม้พบในปริมาณน้อย แต่ลูทีนในไข่แดงก็เป็นชนิดที่สามารถถูกนำไปใช้ได้ดี

2. เบต้าแคโรทีน ร่างกายสามารถเปลี่ยนเบต้าแคโรทีน เป็นวิตามินเอได้ ตามปริมาณที่ร่างกายต้องการ

ช่วยในการสร้างเม็ดสี Rhodopsin ของ Rod Cell เพื่อให้สามารถมองเห็นในตอนกลางคืนได้ดี

ช่วยลดความเสื่อมของเซลล์ตา และลดความเสี่ยงในการเป็นโรคต้อกระจก

แหล่งธรรมชาติของเบต้าแคโรทีน พบมากในผัก และผลไม้ที่มีสีส้ม เหลือง หรือแดง 

เช่น ฟักทอง แครอท ข้าวโพดอ่อน แตงโม หน่อไม้ฝรั่ง แคนตาลูป และมะละกอสุก เป็นต้น 

รวมถึงผักที่มีสีเขียวทุกชนิด เช่น บร๊อคโคลี ผักคะน้า ตำลึง ผักบุ้ง ผักกวางตุ้ง และมะระ เป็นต้น

ปริมาณเบต้าแคโรทีนต่อวันอยู่ที่ประมาณ 5 มิลลิกรัม อย่างไรก็ดี การกินวันละ 200 มิลลิกรัม นาน 6 เดือน ไม่พบอาการข้างเคียงใด ๆ นอกจากอาการตัวเหลือง (Carotenemia) ซึ่งหายไปได้เอง เมื่อหยุดบริโภค

3. Lycopene (ไลโคปีน) เป็นสารสีแดงพบในมะเขือเทศ ผลไม้สีแดง เช่น ฟักข้าว (Gac) แครอทแดง แตงโม มะละกอ

ในผักเขียว เช่น asparagus และ parsley เป็น antioxidant ที่มีฤทธิ์แรง เป็นสารตัวกลางในการสังเคราะห์เบต้าแคโรทีนและแซนโทฟิล

เมื่อรับประทานเข้าไปจะเข้าไปอยู่ในทุกเนื้อเยื่อ และทำหน้าที่ต้านอนุมูลอิสระ

จากการเก็บข้อมูลระหว่างปี คศ. 1988-1990 ประชากร 167 คนซึ่งเป็นจอประสาทตาเสื่อม late AMD  และกลุ่มควบคุมซึ่งไม่มีอาการ AMD จำนวน 167 คน เท่าๆ กัน

พบว่าคนที่มีระดับ lycopene ในเลือดต่ำ มีโอกาสเป็น AMD มากกว่าถึงสองเท่า

ดังนั้น lycopene จึงเป็นสารสำคัญที่ช่วยป้องกัน AMD ช่วยยับยั้งการเสื่อมของกล้ามเนื้อกระบอกตา

4. สารกลุ่มแอนโทไซยานิน (Anthocyanins) แอนโธไซยานิน มีในผลไม้ที่มีสีม่วงเข้ม Black currant, Bilberry, Mulberry

สามารถเพิ่มการมองเห็นชัดได้ทั้งในคนและสัตว์ เพิ่มการมองเห็นในที่มืดได้อย่างมีนัยสำคัญ เนื่องจากช่วยในการฟื้นตัวของ Rhodopsin ที่จอตา

อ้างอิง
https://pharmacy.mahidol.ac.th/th/knowledge/article/359/%E0%B8%AA%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%9A%E0%B8%B3%E0%B8%A3%E0%B8%B8%E0%B8%87%E0%B8%95%E0%B8%B2%E0%B8%88%E0%B8%B2%E0%B8%81%E0%B8%9E%E0%B8%B7%E0%B8%8A%E0%B8%A1%E0%B8%B5%E0%B8%AA%E0%B8%B5/