การเสื่อม และการซ่อมแซมฟื้นฟูอวัยวะแตกต่างกัน เพราะอายุคนเราไม่เท่ากัน?
การเสื่อมของอวัยวะใดเพียงอวัยวะเดียว จะส่งผลให้อวัยวะอื่นๆ เสื่อมตาม หากไม่รีบแก้ไข การเสื่อมของแต่ละอวัยวะอาจจะทำให้อวัยวะนั้นๆ แก่ลงกว่าอายุปฏิทิน 10-20 ปี
อวัยวะต่างๆ ในร่างกายของสิ่งมีชีวิต มีอายุไม่เท่ากันและการเสื่อมของอวัยวะแต่ละคนนั้นแตกต่างกัน อีกทั้งในคนคนเดียวกันระดับการเสื่อมของอวัยวะแต่ละอวัยวะก็ไม่เท่ากัน
เช่นบางคนอายุเพียง 50 ปี แต่หัวใจเสื่อมเท่ากับคนอายุ 80 ปี ในขณะที่อวัยวะอื่นๆ เช่น ตับแก่ลงเพียง 10 ปี เป็นต้น
ดังนั้น การรักษาจึงต้องให้ความสำคัญต่อหัวใจเป็นอันดับแรก
อวัยวะไหนแก่มาก ต้องรักษาก่อน เมื่ออวัยวะที่แก่มากที่สุดได้รับการบำบัดรักษาให้ดีขึ้นแล้ว อวัยวะอื่นๆ ก็จะดีขึ้นตาม
การตรวจพบแต่เนิ่นๆ (Early diagnosis) จึงจำเป็นต้องตรวจให้รู้ว่ามีอวัยวะใดบ้างที่เสื่อม และจัดอยู่ในอันดับใดเสียก่อน และต้องการตรวจให้รู้เสียแต่เนิ่นๆ
ร่างกายของมนุษย์เป็นเช่นเดียวกับทุกสรรพสิ่ง ในจักรวาล คือ มีการเคลื่อนไหวเปลี่ยนแปลง อยู่ตลอดเวลาไม่เคยหยุดนิ่ง และมีสิ่งใหม่ๆ เกิดขึ้นภายในร่างกายละจิตใจของเราตลอดเวลา เช่นกัน
ตามหลักวิชาวิทยาสาสตร์ควอนตัมฟิสิกส์ได้กล่าวไว้ “ There is no end to the cosmic dance, the universal field of energy and information never stop transforming itself, becoming new at every second.”
ดังนั้นเซลล์ของอวัยวะต่างๆ สามารถฟื้นฟูขึ้นมาได้ ด้วยอาหาร ไม่ใช่ยา หากเรากินสารอาหารที่เหมาะสม ตรงจุดความต้องการของอวัยวะนั้น และร่างกายดูดซึมนำไปใช้ได้ อาจจะใช้อาหารเสริมสกัดเฉพาะ (ถ้าจำเป็น)หรือหากินจากอาหารคุณภาพสูงจากธรรมชาติ ปลอดภัยไร้สารพิษ และเลือกสรรตามหลักการแพทย์
แต่ถ้าคนเราขาดสารอาหาร ใช้งานร่างกายหนักไม่หยุด อวัยวะจะยิ่งเสื่อมๆ จนพังไปในที่สุด
ตัวอย่างของระยะเวลาของการเกิดเซลล์ใหม่ของอวัยวะต่างๆ
เซลล์ใหม่ของกระเพาะอาหารเกิดขึ้นใหม่ทุก 5 วัน
เซลล์ใหม่ของลำไส้ เกิดใหม่ทุก 3-5 วัน
เซลล์ปอดใหม่เกิดขึ้นทุก 2-3 สัปดาห์
เซลล์ตุ่มรับรส เกิดใหม่ขึ้นทุก 10 วัน
เซลล์ผิวหนังเกิดใหม่ทุก 4 สัปดาห์
เซลล์เม็ดเลือดแดงเกิดใหม่ทุก 4 เดือน
เซลล์ตับเกิดใหม่ทุก 6 สัปดาห์
โครงกระดูกเกิดใหม่ทุก 3 เดือน
ทุกๆ ปีเซลล์ทั่วร่างกายเกิดใหม่ แทนร่างกายเดิมถึงร้อยละ 99