ความอยากกับความหิว
ร่างกายจำเป็นต้องกินอาหารเพื่อที่จะมีชีวิตอยู่ได้ และสัญญาณเตือนของร่างกาย คือ “ความหิว”
เพื่อจะบอกคุณให้รู้ว่าได้เวลากินอาหารเช้า อาหารกลางวัน อาหารเย็น หรืออาหารว่างระหว่างมื้อแล้ว เนื้อหานี้จะกล่าวถึงสัญญาณเตือนทางร่างกายที่ทำให้คุณต้องเดินไปยังโต๊ะอาหาร หรือกระตุ้น ให้คุณไปร้านอาหารที่คุณ ชื่นชอบ
ความเเตกต่างระหว่างความอยากกับความหิว
คนเรากินด้วยเหตุผล 2 ประการ เหตุผลที่หนึ่งคือ หิว เหตุผลที่สองคือ อยาก ซึ่งความหิวและความอยากนั้นไม่เหมือนกัน เนื่องจากความหิวและความอยากมีกระบวนการที่แตกต่างกันดังนี้
ความหิว คือร่างกายต้องการอาหาร ซึ่งเกิดจาก
- ปฏิกิริยาทางร่างกาย เช่น การเปลี่ยนแปลงของสารเคมีในร่างกาย ระดับน้ำตาลในกระแสเลือดที่ต่ำโดยธรรมชาติหลังจากกินอาหารผ่านไปหลายชั่วโมง
- กลไกตามสัญชาตญาณเชิงป้องกันของร่างกาย เพื่อให้มั่นใจว่าร่างกายได้รับอาหารที่จำเป็นสำหรับการทำงานตามปกติ
- ความอยาก คือความอยากกินอาหาร ซึ่งเกิดจากปฏิกิริยาตอบสนองด้านจิตใจ(กลิ่นหอม น่ากิน) ซึ่งเร้าให้ร่างกายเกิดการตอบสนอง (น้ำลายสอ กระเพาะอาหารบีบรัดตัว)
- การตอบสนองตามเงื่อนไขต่ออาหาร (ทฤษฎี”สุนัขของพาลอฟ”)
ความแตกต่างในทางปฏิบัติระหว่างความหิวกับความอยาก คือ เมื่อหิวจะกินไส้กรอก 1 อัน แต่ความอยากอาจทำให้คุณต้องกินไส้กรอกเพิ่มเป็น 2-3 อัน
ทั้งนี้เนื่องจากไส้กรอกนั้นดูน่ากิน หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งก็คือ ความอยากเป็นพื้นฐานของคำกล่าวที่คุ้นเคยที่ว่า “ตาเริ่มจะโตกว่าทัอง และสโลแกนอันหนึ่งที่รู้จักกันดี คือ “อันเดียวไม่พอ”สิ่งเหล่านี้คือจิตวิทยาอย่างหนึ่งในการชักจูงให้ลูกค้าซื้อสินค้าเพราะความอยาก ไม่ใช่ความต้องการซื้อสินค้านั้นจริงๆ
ล้อมกรอบทฤษฎีว่าด้วย“ความหิว” ของ พาลอฟอีวาน เพโดรวิช พาลอฟ (ค.ศ.1849-1936) นักจิตวิทยาชาวรัสเซีย ผู้ได้รับรางวัลโนเบลสาขาจิตวิทยา/แพทยศาสตร์ในปี ค.ศ.1904
ในงานวิจัยเกี่ยวกับต่อมย่อยอาหาร ซึ่งเป็นการตอบสนองตามเงื่อนไขที่วางไว้ของสุนัข โดยเป็นวิธีการฝึกคนให้มีการตอบสนองด้านร่างกาย(หรืออารมณ์) ต่อวัตถุหรือสิ่งเร้าที่ทำให้คนๆ นั้นจดจำได้ในสิ่งที่ตนรักหรือเกลียด
พาลอฟ ได้วางเงื่อนไขการทดลองกับสุนัข โดยเริ่มสั่นกระดิ่งทุกครั้งที่จะให้อาหาร แก่สุนัข เพื่อให้สุนัขเกิดการเรียนรู้ที่จะเชื่อมโยงความสัมพันธ์ระหว่างเสียงกระดิ่งกับอาหาร แต่เมื่อสั่นกระดิ่งโดยไม่ให้อาหารแก่สุนัข สุนัขก็ยังคงตอบสนองด้วยการมีน้ำลายไหล แม้ว่าจะไม่มีอาหารวางอยู่ในจานก็ตาม
การตอบสนองต่อเงื่อนไขนี้สามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้กับสิ่งต่างๆ ที่นอกเหนือจากอาหาร เช่น นักกีฬาโอลิมปิกสามารถชนะการแข่งขันเมื่อมองเห็นธงประจำชาติของเขา
บริษัทผู้ผลิตอาหารได้นำเงื่อนไขการตอบสนองนี้ไปใช้เพื่อเชิญชวนให้ลูกค้าซื้อสินค้าเช่น เมื่อลูกค้ามองเห็นรูปแท่งช็อคโกเลต แน่นอนว่าน้ำลายของลูกค้าย่อมต้องไหลเพราะอยากกินเหล่านี้เป็นต้น
Cr. คู่มือโภชนาการเพื่อสุขภาพที่ดีขึ้น