รวมความรู้ด้านสุขภาพ Health Knowledgeสารอาหารบำบัดโรค Nutrition

อาหารควบคุม

อาหารทั่วไปและอาหารควบคุมบางอย่างมีข้อดีอย่างเห็นได้ชัดสำหรับร่างกาย คือ ทำให้สุขภาพแข็งแรงและอาการดีขึ้นเมื่อไม่สบาย

เช่น ถ้าคุณเคยผ่าตัดท้องน้อย คุณจะทราบดีเกี่ยวกับอาหารควบคุมที่เป็นของเหลวทั้งหมด การกินน้ำซุปใสหลังผ่าตัดจะทำให้คุณรู้สึกดีขึ้น โดยไม่ทำให้ปวดท้อง

หรือถ้าคุณเป็นเบาหวาน (ร่างกายไม่สามารถผลิตอินซูลินที่จำเป็นต่อการดูดซึมคาร์โบไฮเดรต)

คุณก็จะทราบดีว่า การรักษาสมดุลของคาร์โบไฮเดรต ไขมัน และโปรตีนจากอาหารที่กินประจำวัน เป็นสิ่งสำคัญต่อการบำบัดโรคอาหารควบคุมที่ได้รับการพิสูจน์และยอมรับแล้ว ได้แก่

  • อาหารอ่อน อาหารประเภทซุปเหมาะสำหรัคนที่ผ่าตัดคอและศีรษะ คนที่ใส่ฟันปลอมหรือคนที่มีปัญหาในการบดเคี้ยวอาหาร
  • อาหารที่จำกัดเกลือโซเดียม เกลือโซเดียมจะดูดน้ำ ทำให้เนื้อเยื่อของร่างกายดูดซับน้ำไว้มาก

อาหารที่มีเกลือโซเดียมต่ำจะทำให้เนื้อเยื่ออุ้มน้ำไว้น้อยลงด้วย ซึ่งมีประโยชน์มากสำหรับการรักษาโรคความดันเลือดสูง โรคหัวใจล้มเหลวเนื่องจากมีน้ำคั่ง และโรคตับ

  • อาหารที่มีไขมันและคอเลสเตอรอลต่ำ อาหารในกลุ่มนี้เป็นอาหารขั้นที่ 1 สำหรับลดระดับคอเลสเตอรอลในเลือด

อาหารควบคุมจะจำกัดการกินคอเลสเตอรอลไม่เกิน 30 มก./วัน และการกินไขมันทั้งหมดไม่เกิน 30% ของจำนวนแคลอรี่ที่ร่างกายได้รับต่อวัน

  • อาหารที่มีโปรตีนต่ำ เหมาะสำหรับคนที่เป็นโรคตับหรือไตเรื้อรัง หรือคนที่ร่างกายไม่สามารถเผาผลาญกรดอะมิโนได้ อาหารโปรตีนต่ำจะช่วยลดการสูญเสียโปรตีนในเนื้อเยื่อร่างกาย ทำให้เนื้อเยื่อถูกทำลายน้อยลง
  • อาหารที่มีเส้นใยสูง อาหารที่มีเส้นใยสูงจะผ่านลำไส้ไปอย่างรวดเร็วดังนั้นจึงช่วยป้องกันโรคท้องผูก

ถ้าคุณมีถุงที่ผนังลำไส้ใหญ่ อาหารเส้นใยจะช่วยลดโอกาสการติดเชื้อที่ผนังลำไส้ ช่วยบรรเทาอาการเจ็บปวดหรือระคายเคืองกระเพาะอาหาร และที่ดีกว่านั้นก็คือ อาหารเส้นใยจะช่วยลดระดับคอเลสเตอรอลในเลือด
.

  • อาหารที่มีโปตัสเซียมสูง สามารถใช้ทดแทนการสูญเสียโปตัสเซียมที่มีสาเหตุ มาจากการใช้ยาขับปัสสาวะ (ทำให้ปัสสาวะบ่อยมากขึ้น และโปตัสเซียมถูกขับออกมาพร้อมกับปัสสาวะ) หลักฐานบางประการแสดงให้เห็นว่า อาหารที่มีโปตัสเซียมสูงสามารถทำให้ความดันเลือดลดลงได้เล็กน้อย.
    .
  • อาหารที่มีแคลเซียมสูง ผลิตภัณฑ์จากนม (ไขมันต่ำ) และผักที่มีแคลเซียมสูง เช่น ผักใบเขียว จะช่วยปกป้องความหนาแน่นของกระดูกที่สูญเสียไปตามอายุ ช่วยลดความดันเลือดและมะเร็งลำไส้ใหญ่

เนื้อปลา เช่น ปลาแซลมอนกระป๋องซึ่งกระดูกอ่อนสามารถกินได้ จัดเป็นแหล่งแคลเซียมที่ดี

ซึ่งแหล่งอาหารแคลเชียมที่ช่วยเสริมสร้างกระดูก ได้แก่ ถั่วเหลืองซึ่งมีสารที่มีคุณสมบัติคล้ายฮอร์โมนเพศหญิง และผลไม้ที่มีแร่ธาตุโบรอน

โดยการวิจัยของศูนย์วิจัยโภชนาการมนุษย์แห่งสหรัฐอเมริกา แกรนด์ฟอร์ค รัฐนอร์ทดาโกด้า พบว่าโบรอนมีบทบาทสำคัญในการช่วยป้องกันการสูญเสียเกลือแร่ต่างๆ เช่น แคลเซียมในกระดูก

และศูนย์วิจัยฯยังพบอีกว่า การกินแอปเปิ้ลหรือองุ่นแห้ง 2-3 ออนซ์ หรือน้ำองุ่น 1 แก้ว/วัน สามารถป้องกันการสูญเสียแคลเซียมในกระดูกได้

Cr. คู่มือโภชนาการเพื่อสุขภาพที่ดีขึ้น