อุจจาระบอกสุขภาพ ท้องผูกก่อโรคร้ายกว่าที่คิด
การจะเช็คว่า เรามีสุขภาพที่ดีหรือไม่นั้น
สามารถตรวจสอบได้หลายวิธี
หนึ่งในนั้นคือดูจาก ลักษณะการถ่ายอุจจาระ
การดูสุขภาพจากการถ่ายอุจจาระ แบ่งออกเป็น 3 ชนิด
1. ผู้ที่มีสุขภาพดี
อาหารที่บุคคลเหล่านี้ทาน
จะใช้เวลาผ่านลำไส้ใหญ่ เพียง 1/2 – 1 วัน เท่านั้น
ผู้ถ่ายอุจจาระอาจถ่ายวันละ 2-3 ครั้ง
จึงไม่มีโอกาสที่แบคทีเรียทำให้บูดเน่า
ถ่ายง่าย ไม่ต้องเบ่ง
และไม่ค่อยมีกลิ่นเหม็น
เมื่ออยู่ในโถส้วมจะกระจายตัวออกในน้ำ บุคคลเหล่านี้ มักทานอาหารที่มีเส้นใยเยอะๆ เป็นประจำ
จะเป็นอุจจาระที่มีลักษณะหลวมๆ ไม่มีเมือกเหนียว
เช่น ผัก ผลไม้ ข้าวกล้อง ขนมปังโฮลวีต
2. ผู้ที่มีสุขภาพแย่สุดๆ และเสี่ยงต่อการเป็นโรคมะเร็ง
อาหารที่ทาน จะใช้เวลาอยู่ในลำไส้ 65-100 ชั่วโมง
หรือประมาณ 2-4 วัน
โดยลำไส้ใหญ่จะดูดซึมน้ำจากกากอาหาร
ทำให้อุจจาระมีลักษณะจับตัวเป็นก้อน
แข็ง เหนียว ถ่ายยาก และใช้เวลานาน
อีกทั้งยังส่งกลิ่นเหม็น
บุคคลเหล่านี้มักทานอาหาร ไม่ทานอาหารที่มีเส้นใย ผัก ผลไม้
ที่มีแต่ไขมัน เนื้อสัตว์ ข้าวขาว
3. ผู้ที่มีสุขภาพกลาง ๆ
บุคคลในกลุ่มนี้ หากถ่ายยาก
ร่างกายจะเจ็บป่วยอย่างหนึ่งอย่างใด
สังเกตได้จาก จะถ่ายทุกวัน วันละ 1 ครั้ง
แต่อาจใช้เวลาถึง 10 นาที
อุจจาระจะมีลักษณะเป็นก้อน
และกระจายตัวเมื่อกดน้ำทิ้ง
ซึ่งลักษณะต่างๆของอุจจาระตามดังกล่าวข้างต้น
จะบอกถึงสุขภาพของลำไส้ ว่าเป็นอย่างไร
จึงต้องรู้จักว่า”ลำไส้ใหญ่”ทำงานอย่างไร
ลำไส้ใหญ่ เป็นหนึ่งในอวัยวะของระบบย่อยอาหาร แต่ไม่ได้มีหน้าที่ย่อยอาหาร
มีความยาวประมาณ 1.5 เมตร
เส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 6 เซนติเมตร
โดยลำไส้ใหญ่จะทำหน้าที่
รับกากอาหารที่ย่อยเสร็จแล้วจากลำไส้เล็ก
ดูดซึมน้ำให้ออกจากกากอาหาร
เหลือของเหลวไว้ประมาณ 150 มิลลิลิตร
เพื่อเข้าสู่กระบวนการสุดท้ายของระบบการย่อยอาหาร
ส่วนที่เหลือจะถ่ายออกไปเป็นอุจจาระ
ปกติแล้ว ตั้งแต่ที่เราทานอาหารเข้าปาก ไปจนถึงออกทางทวารหนัก
ระบบย่อยอาหาร จะต้องใช้เวลาทำงานประมาณ 16-28 ชั่วโมง
โดยกากอาหารจะอยู่ในลำไส้ใหญ่นาน 12-24 ชั่วโมง ขึ้นอยู่กับชนิดของอาหาร
ยิ่งกากอาหารอยู่ในลำไส้ใหญ่นานเท่าไหร่
ปริมาณน้ำยิ่งถูกดูดซึมเข้าสู่ร่างกายนานเท่านั้น
ทำให้อุจจาระหนืด แห้ง จับตัวเป็นก้อน
การทำงานของลำไส้ใหญ่จะบีบตัวเป็นระลอก วันละ 3-4 ครั้ง
เพื่อไล่อุจจาระไปตามลำไส้ตรง
อุจจาระที่ลำไส้ตรง จะกระตุ้นหูรูดทวารหนักให้เปิดออก
ทำให้เรารู้สึกปวดอุจจาระ
อุจจาระที่ขับออกมา จะมีกลิ่นเป็นอย่างไร
ก็ขึ้นอยู่กับว่า เราทานอะไรเข้าไป
และขึ้นอยู่กับชนิดของแบคทีเรียที่อยู่ในลำไส้ของแต่ละคนด้วย
อุจจาระที่มีความเหนียวนี้
ในขณะที่เคลื่อนผ่านลำไส้ใหญ่
จะค่อย ๆ เคลือบ ด้านในของลำไส้ไปเรื่อย ๆ
เกิดเป็นตะกรัน ที่พอกหนาขึ้น
ผล คือ ลำไส้ จะเหมือนมีคราบตะไคร่
ที่เป็นเศษอาหารเน่าเปื่อยจับอยู่เต็มไปหมด
เป็นเหตุให้ ร่างกายเจ็บป่วยต่าง ๆ
ก็จะดูดซึม เอาคราบตะไคร่เน่าเสียเหล่านี้
เข้าสู่ร่างกายด้วย
เช่น ปวดหัว ปวดเมื่อยตามเนื้อตัว
และทำให้เกิด”โรคมะเร็ง”
โดยแบคทีเรีย ที่อยู่ที่ในลำไส้ใหญ่นี้
จะช่วยสร้างวิตามินเค และวิตามินบีหลายชนิด
แต่แบคทีเรีย ก็จะทำให้กากอาหาร
จำพวกโปรตีน ให้มีกลิ่นแรง
ซึ่งกลิ่นเหล่านี้ จะออกมากับการผายลมและอุจจาระ
หากกากอาหารมีความเหนียว
ลำไส้ใหญ่ จะขับกากอาหาร แบบนี้ ได้ช้า
ทำให้ถ่ายยาก หรือ ไม่ถ่าย เรียกว่า “ภาวะท้องผูก”
โดยทางธรรมชาติบำบัด
แบ่งอาการท้องผูกออกเป็น 2 ชนิด
1.อาการท้องผูกที่ถ่ายไม่ออก
บุคคลในกลุ่มนี้จะถ่าย 2-3 วันต่อครั้ง
ถ่ายเป็นก้อนแข็งมาก และถ่ายยากมาก
2.ถ่ายปกติเป็นประจำทุกวัน วันละครั้ง
แม้จะถ่ายเป็นประจำทุกวัน
แต่หากอุจจาระที่ถ่ายออกมา
มีลักษณะ เหนียวมาก มีกลิ่นแรง และใช้เวลาถ่ายนาน
ข้อสังเกต
และมีอาการถ่ายเหลว วันละหลายๆ ครั้ง เกิดจากการที่มีอุจจาระเหนียว ถ่ายไม่สุด
ทานอะไร นิดหน่อยก็อยากถ่าย
สลับกับท้องผูก 2-3 วัน
ทำให้เหลือคราบเกาะในลำไส้
หากอยากมีสุขภาพลำไส้ที่ดี ควรปฏิบัติ ดังนี้
- การปรับพฤติกรรมการขับถ่าย
ขับถ่ายอุจจาระทันที เมื่อรู้สึกตั้งแต่ครั้งแรก
นั่งขับถ่ายในท่านั่งที่เหมาะสม
. - ปรับพฤติกรรมการทาน
รับประทาน ผัก ผลไม้ ที่มีกากใยเป็นประจำ
. - ดื่มน้ำในปริมาณที่เพียงพอ
ดื่มน้ำอุ่น หลังจากตื่นนอนทันที (ยังไม่แปรงฟัน)
. - ออกกำลังกายเป็นประจำสม่ำเสมอ