คอเลสเตอรอล
คอเลสเตอรอลกับร่างกาย
จริงๆ แล้วร่างกายต้องการไขมัน และร่างกายก็ต้องการคอเลสเตอรอลเช่นเดียวกัน เนื่องจากคอเลสเตอรอลมีประโยชน์มากมาย อย่างเช่น
- ช่วยสร้างความแข็งแรงและสมบูรณ์ให้เซลล์เมมเบรน
. - ช่วยให้เซลล์ประสาทสามารถส่งสื่อสัญญาณกลับไปมา
.
- เป็นตัวสร้างวิตามินดี เมื่อแสงอาทิตย์สัมผัสไขมันผิวหนัง
.
- เป็นฐานเมื่อร่างกายมีการสร้างฮอร์โมนสเตรียรอยด์ เช่น ฮอร์โมนเอสโตเจนและเทสโทสเตอโรน
คอเลสเตอรอลกับโรคหัวใจ
แพทย์สามารถวัดระดับคอเลสเตอรอลได้จากการตรวจสอบเลือดและนับจำนวนคอเลสเตอรอล (มก.) ในเลือด 1 เดซิลิตร (ดล.) เมื่อแพทย์รายงานว่าร่างกายของคุณมีระดับคอเลสเตอรอล 225 มก./ดล. นั่นหมายความว่าคุณมีคอเลสเตอรอล 225 มก. ในเลือดทุกๆ 1 ดล.
ซึ่งโดยทั่วไปแล้ว
- ระดับคอเลสเตอรอลในผู้ใหญ่ คือ 250 มก./ดล. นับว่าเป็นระดับที่มีความเสี่ยงสูงต่อการเกิดโรคหัวใจ
- ระดับ 200-250 มก./ดล. ถือว่ามีความเสี่ยงปานกลาง
.
- ระดับที่ต่ำกว่า 200 มก./ดล. ถือว่ามีความเสี่ยงต่ำ
ระดับคอเลสเตอรอลในเด็กจะเพิ่มขึ้นอย่างช้าๆ เมื่ออายุประมาณ 2-10 ปี แต่หลังจากนั้นระดับคอเลสเตอรอล อาจจะเพิ่มขึ้นหรือลดลงได้โดยขึ้นอยู่กับปัจจัยทางเพศ
โดยระดับคอเลสเตอรอลในผู้หญิงจะสูงสุด เมื่ออายุ 9 ขวบ ส่วนในผู้ชาย คือ อายุ 16 ปี แต่หลังจากนั้นระดับคอเลสเตอรอลในผู้หญิงอาจจะลดต่ำสุดเมื่ออายุ 16 ปี ในขณะที่ผู้ชายอายุประมาณ 17 ปี
แม้ว่าผู้ใหญ่ (อายุ 20-74 ปี) จำเป็นต้องได้รับการตรวจสอบอย่างน้อย 1 ครั้ง เพื่อเป็นฐานข้อมูลการอ่านค่าระดับคอเลสเตอรอล
แต่สมาคมโรคหัวใจแห่งอเมริกาแนะนำให้ตรวจสอบเฉพาะเด็กที่อายุเกินกว่า 2 ขวบ และครอบครัวมีประวัติเป็นหัวใจโคโรนารีนั่นคือ พ่อแม่หรือปู่ย่าตายาย มีระดับคอเลสเตอรอลในเลือดสูงและมีประวัติเป็นโรคหัวใจระดับคอเลสเตอรอลเพียงอย่างเดียวไม่ใช่ปัญหาทั้งหมด
หลายคนที่มีระดับคอเลสเตอรอลสูงสามารถมีชีวิตอยู่จนถึงวัยชรา แต่บางคนที่มีระดับคอเลสเตอรอลต่ำอาจเป็นโรคหัวใจก็ได้
ที่แย่กว่านั้นคือ งานวิจัยเมื่อไม่นานมานี้พบว่า ระดับคอเลสเตอรอลต่ำอาจเพิ่มอัตราเสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดสมอง
ดังนั้น คอเลสเตอรอลทั้งหมดอาจเป็นปัจจัยเสี่ยงอย่างหนึ่งในหลายๆปัจจัยที่ก่อให้เกิดโรคหัวใจ ซึ่งได้แก่ อัตราส่วนของไลโปโปรตีนไม่เหมาะสม สูบบุหรี่ โรคอ้วน อายุ (อายุยิ่งมาก อัตราเสี่ยงยิ่งมาก) เพศ (ผู้ชายมีอัตราเสี่ยงมากกว่าผู้หญิง) และประวัติครอบครัวเป็นโรคหัวใจ
Cr. คู่มือโภชนาการเพื่อสุขภาพที่ดีขึ้น