คาโรทีนอยด์(Carotenoids)
เป็นสารพวก tetratepenoids พบได้ในพืชสีเขียวทั่วไปและส่วนใหญ่ของพืชสีเหลือง สีส้ม มีทั้งหมดมากกว่า 600 ชนิด แบ่งเป็น 2 พวกใหญ่ คือ
1.carotenes เช่น lycopene ในมะเขือเทศ α, β และ ϒ- carotenes ในพืชต่างๆ
2.xanthophyll เช่น zeaxanthin ในข้าวโพด ดาวเรือง
คาโรทีนอยด์ประมาณประมาณ 50 ชนิด สามารถเปลี่ยนเป็นไวตามิน A ในร่างกายได้ เช่น α- carotenes, β-carotenes, cryptoxanthin และให้ฤทธิ์ของไวตามิน A เช่น
-ไวตามิน A ในรูป retinol และ retainal เป็นส่วนประกอบของจอตาช่วยการมองเห็นในที่สลัว
-ไวตามิน A ช่วยสร้างเซลล์ เยื่อเมือกที่อยู่ในเซลล์บุผิว (epithelium)
-กรด retinoic ช่วยในการแปรสภาพของเซลล์ (cell differentiation) ให้เป็นเนื้อเยื่อชนิดต่างๆ
นอกจากนี้ยังมีฤทธิ์ต้านออกซิเดชั่นจากสาเหตุต่างๆ โดยรวมตัวกับอนุมูลอิสระ ป้องกันปฏิกิริยาลูกโซ่ในการทำลายเนื้อเยื่อ ซึ่งทำให้เกิดผลเสียหลายอย่าง เช่น
ดังนั้น คาโรทีนอยด์จึงถูกนำมาใช้ป้องกัน และบรรเทาความเสื่อมและการทำลายเซลล์ เช่น
-ในความชรา ตับเสื่อมเนื่องจากสารพิษ การแตกของเม็ดเลือดแดง การเกิดต้อตาในผู้สูงอายุ
-ลดอัตราการเสี่ยงที่จะเป็นโรคเส้นเลือดแข็ง และโรคหัวใจขาดเลือด
-ป้องกันและต่อต้านมะเร็ง เช่น ต่อต้านมะเร็งต่อมลูกหมาก
สารที่มีการนำมาใช้มาก คือ β-carotenes รองมา คือ lycopene