กินน้ำด่าง จำเป็นจริงไหม?
ปกติ ร่างกายของคนเราจะมีภาวะ
ความเป็นกรด – ด่าง หรือ pH ในเลือด
อยู่ที่ ประมาณ 7.3 – 7.4 คือเป็นด่างอ่อนๆ
แต่ถ้าเรารับประทานอาหาร
ที่ก่อให้เกิดความเป็นกรดมากเกินไป
ก็จะมีผลทำให้ค่า pH ในเลือดลดลง
และส่งผลเสียต่อสุขภาพตามมา
ภาวะเลือดเป็นกรดส่วนใหญ่จะมีอาการหลาย ๆ อย่างคล้ายกัน
ขึ้นอยู่กับสาเหตุที่ทำให้เกิดเป็นหลัก
ภาวะกรดจากระบบหายใจ
- อ่อนเพลีย เซื่องซึม
- เหนื่อยง่ายกว่าปกติ
- รู้สึกสับสน
- ปวดศีรษะ
- บางรายที่มีอาการรุนแรงอาจเกิดอาการไม่รู้ตัว หรือเสียชีวิต
ภาวะกรดจากกระบวนการเผาผลาญ
- หายใจตื้นและถี่
- รู้สึกสับสน
- อ่อนเพลีย
- ปวดศีรษะ
- อาเจียน เบื่ออาหาร
- อาการดีซ่าน
- หัวใจเต้นเร็วขึ้น
- ในกรณีที่เกิดจากโรคเบาหวาน ลมหายใจอาจมีกลิ่นคล้ายผลไม้ (Ketoacidosis)
อาหารที่ทำให้ร่างกายมีภาวะเป็นกรดได้แก่ – อาหารจำพวกแป้ง และคาร์โบไฮเดรต โดยเฉพาะข้าวขาว ขนมปังขาว – อาหารที่มีส่วนผสมของน้ำตาล หรืออาหารที่มีรสหวาน เช่น ขนมหวาน ไอศกรีม – เนื้อสัตว์ โดยเฉพาะเนื้อวัว เนื้อหมู รวมไปถึงนมวัว – อาหารที่มีส่วนผสมของไขมันทรานส์ เช่น เบเกอรี่ นมข้น ครีมเทียม – อาหารที่ผ่านการแปรรูป เช่น ไส้กรอก แฮม – เครื่อมดื่มในกลุ่มของน้ำอัดลม ชา กาแฟ และเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ – ผงชูรส สารปรุงแต่งอาหารซึ่งพบมากในบะหมี่กึ่งสำเร็จรูป อาหารกระป๋อง อาหารสำเร็จรูป – น้ำดื่ม RO (Reverse Osmosis)
วิธีการปรับสมดุลในร่างกาย
ทำได้โดยหลีกเลี่ยงอาหารที่มีสภาวะเป็นกรด
เช่น เนื้อสัตว์ นม แป้ง น้ำตาล
และรับประทานอาหารที่ทำให้ร่างกาย
มีสภาพเป็นด่าง อย่างเหมาะสม
ก็จะทำให้ร่างกายเข้าสู่ภาวะปกติ
ระบบต่างๆ ทำงานได้ดีขึ้น
และลดความเสี่ยงของการเกิดโรคเรื้อรังต่างๆ
อาหารที่ทำให้ร่างกายมีภาวะเป็นด่าง ได้แก่
– ผักต่างๆ โดยเฉพาะแตงกวา ผักกาด เครื่องเทศ หน่อไม้ฝรั่ง มะเขือเทศ
– ผลไม้ต่างๆ เช่น มะนาว ส้ม แอปเปิ้ล แคนตาลูป สตรอเบอร์รี กีวี
– ธัญพืชไม่ขัดสีต่างๆ เช่น ข้าวกล้อง อัลมอนด์ ข้าวโอ๊ต
สำหรับน้ำด่างหรือน้ำอัลคาไลน์นั้น
ถ้าเราเลี่ยงอาหารสร้างกรด เน้น
รับประทานอาหารสร้างด่างแล้ว
ก็ไม่มีความจำเป็นต้องดื่ม
แต่ถ้าบางมื้อที่เรา เลี่ยงไม่ได้
หรือรับประทานอาหารหวาน
อาหารสร้างกรดต่างๆ
ก็ควรทาน แต่น้อย เนื่องจากจะไปลดความเป็นกรดในกระเพาะ จึงควรดื่มให้ห่างจากมื้ออาหาร โดยสรุป การกินดื่มด่าง ในกรณีที่เราทานอาหารสร้างกรดในปริมาณมาก
และการดื่มน้ำด่างก็อาจเป็นทางเลือกหนึ่ง
ทั้งนี้การดื่มน้ำด่างนั้น
ไม่ควรดื่มหลังมื้ออาหารในปริมาณมาก
มีผลต่อระบบการย่อย
มีความจำเป็นสำหรับสุขภาพ
แต่ถ้าเราเลี่่ยงอาหารสร้างกรด
ทานธัญพืช ไม่ขัดสี ผักผลไม้ต่างๆ
ให้หลากหลายและเพียงพอ
(อย่างน้อย วันละ 4 ขีด หรือประมาณ 5-7 กำมือ)
การทานน้ำด่างเสริมก็ไม่จำเป็น
นอกจากนี้
การออกกำลังกายอย่างเหมาะสม
ลดความเครียด ทำจิตใจให้แจ่มใส
พักผ่อนอย่างเพียงพอ สวดมนต์
และนั่งสมาธิ
ก็ช่วยเสริมภาวะความเป็นด่างให้กับ ร่างกายได้เช่นกัน