รวมความรู้ด้านสุขภาพ Health Knowledgeศาสตร์ชะลอวัย Anti-aging

เรื่องเล่าจากชาวอะบอริจิน ออสเตรเลีย 7 สัปดาห์เปลี่ยนสุขภาพ

ในฤดูร้อนปี 1982 ชาวอะบอริจินวัยกลางคน 10 คน ที่มีน้ำหนักตัวเกิน

เป็นโรคเบาหวาน และมีถิ่นฐานอยู่เมืองเดอร์บี มลรัฐออสเตรเลียตะวันตก

ได้ตกลงเข้าร่วม การศึกษา ว่าชีวิตที่ดำเนิน สวนแนวตะวันตก

เป็นการชั่วคราวจะช่วยเก้ปัญหาสุขภาพของพวงเขาได้หรือไม่

หลังจากที่ออกจากป่า มาหากินในเมืองได้ไม่กี่ปี อาสาสมัครทั้ง 10 คนก็เป็นเบาหวานชนิด 2 จากภาวะดื้ออินซูลิน

(เซลล์หมดความไวในการตอบสนองต่ออินซูลิน)

ทั้งยังมีภาวะไขมันไตรกลีเซอไรด์ในเลือดสูง (ปัจจัยเสี่ยงต่อโรคหัวใจ) ด้วย

ภาวะทั้งสองนี้ มีรวมอยู่ในกลุ่มอาการ ที่มีชื่อเรียกทางการแพทย์ว่า “กลุ่มอาการเมตาบอลิก (Metabolic Syndromes)” หรือ “กลุ่มอาการ X (Syndrome X)”

ปริมาณคาร์โบไฮเดรตแปรรูป ที่พวกเขารับประทานเข้าไปสูง ผนวกการดำรงชีวิตแบบนั่งกินนอนกินมากขึ้น

ได้มีส่วนทำให้ระบบการทำงานซับซ้อน (ที่เรายังเข้าใจไม่ถ่องแท้) ของฮอร์โมนอินซูลิน ที่ควบคุมเมตาบอลิซึมของคาร์โบไฮเดรต และไขมันต้องแปรปรวน

กลุ่มอาการเมตาบอลิก ไม่ได้เกี่ยวข้องกับโรคเบาหวานชนิด 2 อย่างเดียว แต่ยังเกี่ยวข้องกับโรคอ้วน โรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ และโรคมะเร็ง บางชนิดด้วย

นักวิจัยบางท่าน ยังเชื่อว่า กลุ่มอาการเมตาบอลิกนี้ คือต้นตอของ “โรคแห่งอารยประเทศ”

ที่เกิดกับคนพื้นเมือง ที่รับเอาวิถีชีวิตตะวันตกไปใช้

ทั้งยังเป็นต้นตอภาวะเปลี่ยนผ่านทางโภชนาการที่มักเกิดตามหลังการใช้วิถีชีวิตตะวันตกนี้อีก1

ชาวอะบอริจิน ทั้ง 10 คน ได้กลับสู่ภูมิลำเนาเดิม ที่ตั้งอยู่โดดเดี่ยว นอกเส้นทางเดินรถ ห่างออกไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ ของออสเตรเลีย

และใช้เวลากว่าหนึ่งวัน ในการขับรถจากเมืองที่อยู่ใกล้สุด

วินาทีที่อาสาสมัครชาย-หญิง เหล่านี้ ผละแดนศิวิไลซ์ พวกเขาก็ไม่ได้แตะอาหารหรือเครื่องดื่ม ที่มีขายตามร้านเลย

เพราะการทดลองครั้งนี้ มีกฎว่า พวกเขาจะต้องออกล่าหาอาหารมากินเองเท่านั้น

(ในช่วงที่เข้ามาอยู่ในเมือง พวกเขายังออกล่าหาอาหารเดิมกินอยู่บ้าง จึงยังไม่ลืมวิชาความรู้นี้)

โดยมีเครินโอเดีย นักวิจัยผู้ออกแบบการทดลองติดตามไปด้วย เพื่อคอยจดบันทึก อาหารที่พวกเขากิน และ ประเมินสุขภาพ ของอาสาสมัครแต่ละคน

อาสาสมัครอะบอริจินกลุ่มนี้แบ่งการอยู่ป่านาน 7 สัปดาห์ ออกเป็น 2 ช่วง

ช่วงหนึ่ง อยู่ชายฝั่ง อีกช่วงอยู่บนแผ่นดินใหญ่ อาหารที่พวกเขากินเป็นหลัก ช่วงอยู่ชายฝั่งคือ อาหารทะเล นก จิงโจ้ และตัวอ่อนของแมลงท้องถิ่นชนิดหนึ่ง

พออยู่ชายฝั่งได้ 2 สัปดาห์ พวกเขาก็อยากกินอาหารที่เป็นพืชมากขึ้น

จึงเขยิบเข้ามาตั้งค่าย แถวแม่น้ำ ยังชีพด้วยกุ้ง หอย ปู ปลา เต่า จระเข้ นก จิงโจ้ มันเสา มะเดื่อ และน้ำผึ้งป่า

อาหารที่พวกเขาออาล่าหากินทั้ง 2 ช่วงนี่ต่างกันลิบลับกับอาหารที่เคยกินในเมืองก่อนเข้าร่วมการทดลอง โดยโอเดียได้เขียนในรายงานว่า

“อาหารหลักที่พวกเขากินในเมือง มักเป็นแป้ง น้ำตาลทราย ข้าวเจ้า

น้ำอัดลม เครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ (เบียร์กับเหล้าพอร์ต) นมผง

เนื้อติดมันถูกๆ มันเทศ หัวหอม และผัก-ผลไม้สดมากบ้างน้อยบ้าง” 

พูดง่ายๆ คืออาหารตะวันตกฉบับท้องถนนนั่นเอง

พออยู่ป่าครบ 7 สัปดาห์ โอเดียก็เจาะเลือดอาสาสมัครทั้ง 10 คนมาตรวจ

เธอพบว่า ดัชนีชี้วัด สุขพลานามัยทุกตัวดีขึ้นหมด ทุกคนมีน้ำหนักลดลง (โดยเฉลี่ยลดลง 17.9 ปอนด์)

ความดันเลือดลดลง ระดับไตรกลีเซอไรด์ลดลงอยู่ในเกณฑ์ปกติ

ขณะที่เปอร์เซ็นต์กรดไขมันโอเมก้า 3 ในเนื้อเยื่อกลับสูงขึ้นผิดตา

“กล่าวโดยสรุป” โอเดียเขียนในรายงาน “การกลับไปใช้ชีวิตแบบเดิม ที่มีการยิงนก ตกปลา เก็บเกี่ยวพืชผลกินเอง ในระยะเวลาอันสั้น (7 สัปดาห์) นี้

ได้มีส่วนทำให้ ความผิดปกติทางเมตาบอลิซึม ที่พบในผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิด 2

(อันหมายถึงภาวะไม่ทนกลูโคส2 และการตอบสนองผิดปกติของอินซูลินต่อกลูโคส) ดีขึ้นอย่างมาก

ขณะที่ความผิดปกติบางอย่าง (อันหมายถึงไขมันในเลือด) ก็กลับมาเป็นปกติด้วย”

โอเดียไม่ได้รายงานว่า เกิดอะไรต่อจากนั้น เธอไม่ได้ให้ข้อมูลว่า ชาวอะบอริจิน เหล่านี้ เลือกอยู่ป่าอย่างเก่า หรือกลับมาแดนศิวิไลซ์ต่อ

แต่เราก็คงพอจะสันนิษฐานได้ไม่ยากว่า หากพวกเขากลับมาใช้วิถีชีวิตตะวันตกดั้งเดิม ปัญหาสุขภาพต่างๆ ต้องหวนคืนมาแน่นอน

เพราะเราต่างก็รู้มาร่วมศตวรรษแล้วว่า

โรคตะวันตกทั้งโรคอ้วน โรคเบาหวาน โรคหัวใจและหลอดเลือด โรคความดันโลหิตสูง และโรคมะเร็ง ที่มีสาเหตุจากอาหารนี้

มักเริ่มปรากฏภายหลัง คนคนนั้นผละจากอาหารการกินและวิถีชีวิตดั้งเดิม

แต่ที่เราไม่รู้มาก่อน ที่โอเดียจะพาชาวอะบอริจินกลับไปอยู่ป่า

(อนึ่ง นับแต่การทดลองครั้งนี้ การทดลองคล้ายกันในชนพื้นเมืองอเมริกันและฮาวายก็ให้ผลแบบเดียวกัน)

ก็คือ ความเสียหายร้ายแรง ที่เกิดจากอาหารตะวันตก สามารถหายคืนเป็นปกติได้อย่างรวดเร็ว

การทดลองครั้งนี้จึงแสดงให้เห็นเป็นอย่างน้อยว่า เราสามารถ “กรอเทป” ให้ภาวะเปลี่ยนผ่านทางโภชนาการ กลับคืนสู่ปกติได้

ทั้งยังแก้ไขความเสียหายบางอย่าง ที่เกิดขึ้นแล้วได้ด้วย ข้อมูลที่ได้จากการทดลองนี้จึงมีนัยสำคัญต่อสุขภาพเป็นอย่างมาก3


ภาวะนี้มักพบในประเทศกำลังพัฒนาที่ประสบปัญหาภาวะโภชนาการเกินร่วมกับโภชนาการขาด

สาเหตุมักไม่ได้เกิดจากอาหารขาดแคลนเป็นสำคัญ แต่เกิดจากการรับประทานอาหารคุณภาพต่ำที่ให้แคลอรี่สูงแต่ไม่ให้คุณค่าอื่นทางโภชนาการ-ผู้แปล

ภาวะไม่ทนกลูโคสคือภาวะที่มีน้ำตาลในเลือดสูง แต่ยังสูงไม่ถึงเกณฑ์วินิจฉัยของโรคเบาหวาน – ผู้แปล

3 รายงานของวอลเตอร์ ซี. วิลเล็ตต์ ระบุว่า มีอาสาสมัครในโครงการวิจัยสุขภาพนางพยาบาลเพียง 3.1 เปอร์เซ็นต์ เท่านั้นที่มีพฤติกรรม “เสี่ยงต่ำ”ตามที่เขานิยาม

ดังนี้ : ไม่สูบบุหรี่, มีดัชนีมวลกายต่ำกว่า 25 (เกินกว่านี้ถือว่าน้ำหนักตัวเกิน),ออกกำลังกาย 30 นาทีต่อวัน, รับประทานอาหารที่มีไขมันทรานส์ต่ำ มีอัตราส่วนไขมันไม่อิ่มตัวหลายจุดต่อไขมันอิ่มตัวสูง

และมีธัญพืชเต็มเมล็ดสูง, รับประทานปลา 2 หน่วยบริโภคต่อสัปดาห์, ได้กรดโฟลิกตามปริมาณที่แนะนำต่อวัน

และดื่มแอลกอฮอล์อย่างน้อย 5 กรัมต่อวัน

วิลเล็ตต์และคณะได้นำข้อมูลที่ได้จากการติดตามอาสาสมัครกลุ่มนี้เป็นเวลา 14 ปีมาคำนวณด้วย โดยพบว่าหากอาสาสมัคร ทั้งโครงการมีพฤติกรรมเช่นนี้

พวกเขาอาจเลี่ยง การเป็นโรคหัวใจขาดเลือดได้ 80 เปอร์เซ็นต์ เลี่ยงการเป็นโรคเบาหวานชนิด 2 ได้ 90 เปอร์เซ็นต์ และเลี่ยงการเป็นโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ได้กว่า 70 เปอร์เซ็นต์

ผลวิเคราะห์แสดงให้เห็นว่า ผลเสียร้ายแรง จากอาหาารตะวันตก สามารถหลีกเลี่ยงหรือแก้กลับได้โดยที่เราไม่ต้องหลีกหนีความศิวิไลซ์เลย โดยวิลเล็ตต์เขียนไว้ดังนี้

“การเปลี่ยนวิถีชีวิตและวิถีการกินในลักษณะที่สอดคล้องกับการดำเนินชีวิตในศตวรรษที่ 21 มีศักยภาพที่จะป้องกันโรคได้มหาศาล”

จาก Walter C. Willett, “The Pursuit of Optimal Diets: A Progress Report” in Jim Kaput and Raymond L. Rodriguez, Nutritional Genomics Discovering the Path to Personalized Nutrition (New York : John Wiley & Sons, 2006)

Cr. แถลงการณ์นักกิน