10 โภชนเภสัชภัณฑ์ ที่ใช้สำหรับลดระดับไขมันในเลือด
10 โภชนเภสัชภัณฑ์ กับ โรคไขมันในเลือดสูง
อาหารประเภทไขมันมีผลโดยตรงต่อ ระดับไขมันในเลือด
โดยผลของการรับประทานไขมันแต่ละชนิดจะส่งผลต่อระดับไขมันในเลือดแตกต่างกัน
ในปัจจุบันมีโภชนเภสัชภัณฑ์หลายตัวที่ใช้สำหรับลดระดับไขมันในเลือด ดังนี้
.
1. โปรตีนถั่วเหลือง
- ปริมาณ 40 กรัม/วัน ซึ่งมีสารออกฤทธิ์สำคัญ ไอโซฟลาโวน 25 มก.
- ช่วยลดระดับไขมันคอเลสเตอรอลชนิดเลว LDL-C และเพิ่ม HDL-C ได้
- มีเส้นใยธรรมชาติที่ดีต่อระบบขับถ่าย
- ลดไขมันในผู้หญิงก่อนวัยทองที่มีภาวะอ้วน และภาวะน้ำหนักเกิน
.
2. น้ำมันปลา
- อุดมไปด้วย โอเมก้า -3 ซึ่งประกอบไปด้วย DHA และ EPA (สำหรับลดไขมัน ป้องกันหัวใจ ควรเลือกสูตรที่มี EPA สูง)
- ช่วยลดระดับไขมันในเลือด โดยเฉพาะไตรกลีเซอร์ไรด์
- ต้านการอักเสบและการแข็งตัวของเกล็ดเลือด
- ลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดแดงแข็งตัว
- ปริมาณที่แนะนำสำหรับป้องกันโรคหัวใจ 1,000 มก./วัน
- สำหรับบำบัดรักษาการอุดตันของหลอดเลือด 2,000 – 3,000 มก./วัน
(ทั้งนี้ควรอยู่ภายใต้การดูแลของแพทย์)
ข้อควรระวัง!!! การทานน้ำมันปลาเสริม
*ควรมีวิตามินอีในสูตร หรือทานร่วมกับวิตามินอี เพื่อป้องกันการเกิดออกซิเดชั่นเนื่องจากเป็นกรดไขมันไม่อิ่มตัวหลายตำแหน่ง (PUFA)
*ควรงดก่อนผ่าตัด ถอนฟัน อย่างน้อย 2 วัปดาห์ เนื่องจากทำให้เลือดหยุดไหลยาก
*ควรเลือกผลิตภัณฑ์ที่มีเครื่องหมายการันตีว่าไม่มีโลหะหนักปนเปื้อน
.
3. น้ำมันรำข้าว
- ประกอบไปด้วยกรดไขมันไม่อิ่มตัวตำแหน่งเดียว (MUFA) วิตามินอีและพฤกษเคมี ได้แก่ “แกมม่า-ออริซานอล”
- ช่วยลดระดับ LDL-C ได้
- ปริมาณที่แนะนำ วันละ 30 กรัม หรือประมาณ 2 ช้อนโต๊ะ สำหรับปรุงประกอบอาหาร
- ช่วยป้องกันโรคไขมันอุดตันในเส้นเลือด
- บำรุงระบบประสาทและสมอง
- ป้องกันโรคมะเร็ง บำรุงผิวพรรณ สายตา เล็บ และผม ให้แข็งแรง
- ช่วยเสริมสร้างกล้ามเนื้อ
.
4. น้ำมันคริลล์ (Krill oil)
- ปริมาณที่แนะนำ 1,000-2,000 มก./วัน
- สกัดมาจากเคย หรือกุ้งตัวเล็ก (Euphausia superba)
- ประกอบไปด้วย DHA และ EPA เช่นเดียวกับน้ำมันปลา
- มีสารแอลตาแซนทีน มีหน้าที่ต้านอนุมูลอิสระ
- โครงสร้างเป็นฟอสโฟไลปิด ง่ายต่อการดูดซึมเข้าสู่เซลล์
- บำรุงสมองและระบบประสาท ป้องกันสมองเสื่อม บำรุงสายตา
- ป้องกันการเกาะตัวของไขมันในหลอดเลือด
- ลดไขมันในเลือด ลดความเสี่ยงต่อโรคหลอดเลือด และโรคหัวใจ
.
5. ชาเขียว
- ปริมาณที่แนะนำ วันละประมาณ 2-3 ถ้วย (หรือ ชาแบบซอง 2-3 ซอง แช่ไม่เกิน 3 นาที)
- มี EGCG เป็นตัวยับยั้ง การเกิดการสันดาป Oxidation ของโคเลสเตอรอล
- ช่วยลดระดับ LDL-C ได้
- ช่วยเพิ่มแบคทีเรียชนิดดีในลำไส้ จึงสามารถช่วยล้างสารพิษและกำจัดพิษในลำไส้ได้
ข้อควรระวัง : ปริมาณน้ำตาลในชาเขียวสำเร็จรูปพร้อมดื่ม
.
6. เรดยีสต์ไรซ์ ( Red Yeast Rice ) หรือ ข้าวยีสต์แดง
- ปริมาณที่แนะนำ วันละ 1,800 มก.
- คือนำข้าวมาหมักด้วยยีสต์ชนิดหนึ่งที่ชื่อ Monascus purpureus
- ช่วยลดระดับ LDL-C ลดไขมันในเส้นเลือด
- ลดไขมันคอเลสเตอรอลและ ไขมันไตรกลีเซอไรด์ได้
- ปรับสมดุลลำไส้
- ยับยั้งเอนไซม์ HMG-CoA Reductase ทำให้การสังเคราะห์คอเลสเตอรอลลดลง
ข้อควรระวัง : ยีสต์แดงมีสารที่คล้ายกับสารสแตตินหรือโลวาสแตติน ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อตับและไตได้
.
7. กรดเฟอรูลิก
- เป็นกรดฟีโนลิก (phenolic acid) พบได้ทั่วไปในผัก อาหารที่ทานกันทั่วไป
- เป็นสารต้านอนุมูลอิสระ สารต้านแบคทีเรีย สารต้านการอักเสบ
- ทำให้ระดับคอเลสเตอรอลต่ำลง
- สารต้านการเกิดลิ่มเลือด และสารต้านมะเร็ง รวมทั้งสามารถป้องกันโรคหัวใจ โรคความเสื่อมทางระบบประสาท
- เอกราช บํารุงพืชน์ และคณะ ทําการศึกษาผลของการรับประทานกรด เฟอรูลิกเสริม ต่อระดับไขมันในเลือด และปัจจัยเสี่ยงของการเกิดโรค หัวใจและหลอดเลือดต่าง ๆ
- โดยมีอาสาสมัคร เป็นผู้ที่มีระดับคอเลสเตอรอลในเลือดสูง เข้าร่วมโครงการวิจัยทั้งสิ้น 48 คน
- แบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มหนึ่งได้รับกรดเฟอรูลิก (จํานวน 24 คน) และอีกกลุ่มหนึ่งได้รับยาหลอก (จํานวน 24 คน)
- โดยให้รับประทานครั้ง ละ 500 มิลลิกรัมวันละ 2 ครั้ง เป็นระยะเวลา 6 สัปดาห์
- ผลการศึกษา พบว่า การรับประทานกรดเฟอรูลิกเสริมมีผล ดังนี้
- ทําให้ระดับคอเลสเตอรอล รวมลดลง 8.1% (p = 0.001)
- แอลดีแอล-คอเลสเตอรอลลดลง 9.3% (P < 0.001)
- ไตรกลีเซอร์ไรด์ลดลง 12.1% (P = 0.049)
- เฮชดีแอล คอเลสเตอรอลเพิ่มขึ้น 4.3% (p = 0.045) อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ
- เมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มที่ได้รับยาหลอก
- กรดเฟอรูลิกยังมีผลทําให้ภาวะ ออกซิเดทฟสเตรสลดลง โดยระดับ d-ROMs ลดลง 11.7% (P <0.001)
- MDA ลดลง 24.5% (P < 0.001) และ BAP เพิ่มขึ้น 11.8% (P <0.001)
- และกรดเฟอรูลิกยังช่วยลด Oxidized LDL-C 7.1% (p = 0.002)
- นอกจากนี้การรับประทานกรดเฟอรูลิกเสริมทําให้ภาวะการอักเสบของ ร่างกายลดลง
- โดย hs-CRP ลดลง 32.66% (P < 0.001)
- TNF-4 ลดลง 13.06% (P <0.001)
- ดังนั้น การรับประทานกรดเฟอรูลิก สามารถ ลดระดับไขมันในเลือด รวมทั้งปัจจัยเสี่ยงของการเกิดโรคหัวใจและ หลอดเลือดในผู้ที่มีระดับคอเลสเตอรอลในเลือดสูงได้
.
8. โพลิโคซานอล
- ปริมาณที่แนะนำ วันละ 10-20 มก.
- สกัดจากไขเปลือกอ้อย
- ลดไขมันคอเลสเตอรอ LDL-C
- ลดความเสี่ยงหลอดเลือดหัวใจ
- ลดระดับไตรกลีเซอไรด์ในกระแสเลือดได้ดี
- มีโครงสร้างคล้ายยาลดไขมันในเลือด กลุ่ม statin
.
9. เบต้า-กลูแคน
- ปริมาณที่แนะนำ วันละ 3 กรัม
- เป็นสารอาหารประเภทคาร์โบไฮเดรต
- พบได้ในผนังเซลล์ของแบคทีเรีย เชื้อรา ยีสต์ สาหร่าย หรือพืชชนิดต่าง ๆ
- พบมากในข้าวโอ๊ต
- ลดไขมันคอเลสเตอรอล LDL-C
.
10.ผลไม้ตระกูลเบอรี่
- มีสารออกฤทธิ์สำคัญ คือ แอนโทไซยานิน
- แอนโทไซยานินช่วยลดปริมาณไขมันในเลือด
- ลดระดับน้ำตาลในเลือดและควบคุมน้ำตาลให้อยู่ในระดับที่ปกติ
- อาหารที่มีสารแอนโทไซยานินสูงด้วย เช่น กะหล่ำปลีสีม่วง แรดิช ข้าวโพดสีม่วง มะเขือม่วง องุ่นม่วง อัญชัน[